การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุโดยใช้เกมกระดาน

Main Article Content

ชนันภรณ์ อารีกุล
วิกรม จันทรจิตร
ณัฏฐพล คุปต์ธนโรจน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุโดยใช้เกมกระดาน พบว่า การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด กล่าวคือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุโดยใช้เกมกระดานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้สูงอายุ พัฒนาการของผู้สูงอายุ แนวคิดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ และพฤฒาวิทยา เกมกระดานเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญของการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เกมกระดานเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพราะไม่เพียงแต่มุ่งเน้นความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังคงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง สนุกสนาน คลายความเครียด และช่วยสร้างสังคม เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งคนวัยเดียวกันและ/หรือบุตรหลานต่างวัย ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัยได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
อารีกุล ช. ., จันทรจิตร ว. ., & คุปต์ธนโรจน์ ณ. . (2025). การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุโดยใช้เกมกระดาน. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 385–400. https://doi.org/10.14456/jra.2025.51
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/ 1/1/2449

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know /15/741

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ : บริษัท ยืนยงการพิมพ์ จำกัด.

เจียรนัย ธนูธรรมาคุณ. (2564). การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับเจเนอเรชันวาย. (สารนิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์). คณะศิลปกรรมศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุลยวิทย์ พงษ์เทพิน. (2565). เพิ่มประสิทธิภาพให้สมอง ประลองยุทธ์ความสนุก แบบไม่ต้องกลัวอัลไซเมอร์ ด้วยบอร์ดเกมผู้สูงวัย. เข้าถึงได้จาก https://www.allrightcorporation .com/post/manage-your-blog-from-your-live-site

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). เกมกระดานกับผู้สูงอายุ ชะลอความเสื่อมของสมองจากโรคอัลไซเมอร์. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2708577

ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ. (2564). ทฤษฎีและหลักการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการสร้างบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 15(2), 117-132.

สกุล สุขศิริ. (2550). ผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้แบบ Game-based Learning. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). จักรวาลกระดานเดียว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แซลมอน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบเพื่อพัฒนานโยบาย เรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). คัมภีร์ กศน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knowles, M. (1984). Andragogy in action. New Jersey : Jossey-Bass.

Olajide, O. E. & Ayantunji, M. M. (2016). Gerontology and its implications for adult education. European Scientific Journal, 12(13), 321-328.

University of Edinburgh. (2019). Playing board games may help protect thinking skills in old age. ScienceDaily. Retrieved from www.sciencedaily.com/releases/ 2019/11/191126140413.htm

Young Happy. (2556). บอร์ดเกมกับผู้สูงอายุ เล่นสนุก ผูกสัมพันธ์ ห่างไกลอัลไซเมอร์. เข้าถึงได้จาก https://younghappy.com/blog/life-style/senior-boardgame-benefit