การจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี สู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการความรู้ชุมชน 5 ดี และ 2) สู่ประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดีสู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นการวางแผนเพื่อสร้างการตระหนักรู้ของชุมชน ขั้นการปฏิบัติเพื่อการบ่งชี้ความรู้ และการสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการประชุมแกนนำระดับชุมชน จำนวน 7 รูป/คน และการจัดเสวนาตัวแทนชุมชน จำนวน 60 รูป/คน ขั้นการติดตามประเมินผลความรู้ โดยการประเมินผลโครงการแบบซิป กับตัวแทนชุมชน จำนวน 16 รูป/คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี ประกอบด้วย 1.1) การสังเคราะห์และบ่งชี้ความรู้ เพื่อกำหนดกรอบการบ่งชี้ความรู้ให้มีความชัดเจนขึ้น 1.2) การแสวงหาความรู้ มีการขยายพื้นที่เป้าหมาย มีการสร้างกลไกเจ้าภาพ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และมีการจัดทำแผนที่ผู้รู้ และหนังสือยินยอมอนุญาตฯ 1.3) การจัดเก็บ การสืบค้นความรู้ การประมวลและกลั่นกรอง แบ่งออกเป็น 5 หมวด รวมจำนวนผู้รู้ 68 รูป/คน 1.4) การระดมความคิดเห็นเพื่อยืนยันชุดข้อมูลชุมชน ประกอบด้วย การเสวนาชุมชน และการประกวดคลิปวิดีโอ 1.5) การถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย การจัดทำหนังสือชุดความรู้ชุมชน และการจัดทำแผนที่ผู้รู้ 1.6) การขยายผล และสร้างมูลค่าชุดความรู้ ได้เลือกต้นแบบ คือ “ลูกกระสุน” และ 2) การประเมินผลแบบซิปโมเดล ประกอบด้วย ด้านบริบท เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม และมีทุนทางวัฒนธรรมเข้มแข็ง ด้านปัจจัยป้อน มีแกนนำชุมชน จิตอาสา ศักยภาพชุมชนมีความเข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการ มีการสร้างข้อตกลงชุมชน กลไกเจ้าภาพ และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ด้านผลิตผล มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาครบทุกพื้นที่ แต่ขาดช่วงการสืบทอดความรู้ และผลการถอดบทเรียน พบว่า ปัญหาและข้อจำกัด คือ เงื่อนเวลาของผู้รู้และการสูญหายของชุดความรู้ และปัจจัยความสำเร็จ คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ศักยภาพชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วม และแกนนำชุมชน/จิตอาสามีความเข้มแข็ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กนิษฐา บุญประคอง และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. การจัดการความรู้สู่ชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 26(3), 1-28.
ดวงกมล คนโทเงิน. (2556). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 9(2), 65-88.
บัญญัติ ยงย่วน และคณะ. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาวะทางวัฒนธรรมระดับชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 113-133.
พระมหาชุติภัค อภินนฺโท และรัตติยา เหนืออำนาจ. (2562). การจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์จังหวัดนครพนม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 1-18.
รัตติยา เหนืออำนาจ และคณะ. (2564). การพัฒนาความรู้และองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ Smart Community” ของชุมชนในสังคมไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(3), 559-573.
สลิลทิพย์ เชียงทอง และคณะ. (2552). คู่มือการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
เสาวลักษณ์ หิรัญรักษ์ และคณะ. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 151-162.
อัครเดช พรหมกัลป์ และคณะ. (2564) การบริหารจัดการและโมเดลเมืองอัจฉริยะเชิงพุทธกับการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรมจริยธรรมในหมู่บ้านชุมชนจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 35-47.
อัจศรา ประเสริฐสิน และคณะ. (2562). การตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความเป็นคนดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. Veridian E-Journal. Silpakorn University, 12(2), 459-476.
Stufflebeam. D. L. & Shinkfield. A. J. (2007). Evaluation Theory. Models & Application. San Francisco : John Wilwy.