การบูรณาการหลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมวิถีพุทธสำหรับจัดการขยะในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการจัดการขยะตามหลักการของกรมควบคุมมลพิษและหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการขยะ และ 2) บูรณาการหลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมวิถีพุทธสำหรับจัดการขยะในชุมชน ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ชนิดการวิเคราะห์ตัวบท เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือตำรา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางปรัชญาและวิธีบูรณาการ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาหลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการขยะ พบว่า หลักการจัดการขยะ มี 4 หลักการ ได้แก่ การคัดแยกขยะ การจัดการขยะตามหลัก 3 Rs หน้าบ้านน่ามอง บ้านสวยเมืองสะอาด ส่วนหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการขยะ ได้แก่ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ อิทธิบาท สัมมัปปธาน เมื่อวิเคราะห์หลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมด้วยวิธีการทางปรัชญาแล้ว ทำให้พบว่า หลักการจัดการขยะมีข้อบกพร่องในแง่ที่ว่าเป็นเพียงหลักการที่สอนให้ประชาชนจัดการขยะเท่านั้น แต่ไม่ได้ปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ที่การที่ประชาชนจะจัดการขยะได้ มีผลมาจากจิตสำนึก ส่วนหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการขยะมีข้อบกพร่องในแง่ที่ว่า เป็นหลักธรรมที่มีความล้าสมัยเพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว หากไม่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน หลักพุทธธรรมคงไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคมปัจจุบัน และ 2) ผลการบูรณาการหลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมวิถีพุทธสำหรับจัดการขยะในชุมชน พบว่า การบูรณาการหลักการจัดการขยะและหลักพุทธธรรมตามวิธีบูรณาการของพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) คือ การปรับพระพุทธศาสนาเข้าหาศาสตร์ ทำให้ได้นวัตกรรมวิถีพุทธสำหรับจัดการขยะในชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ซัสเซสมีเดีย.
เกศี จันทราประภาวัฒน์ สุรพล สุยะพรหม และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2566). พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะ ของเทศบาลนครลำปาง. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 59-73.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ปี 2565 ตัวชี้วัดภาครัฐเข้ม ห้ามใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว-แก้วพลาสติกแบบบาง กล่องโฟม 100% และเชิญชวนเอกชนร่วม. เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/pcd_news/15917#:~:text=
กรมควบคุมมลพิษ. (2558). คู่มือการดำเนินงานคัดแยกขยะมูลฝอยภายในอาคารสำนักงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท ฮีร์ จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3 R) เพื่อการจัดการขยะชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท ฮีร์ จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ปี 2565. เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2565
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ปี 2566. เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2566
พระธรรมโกศาจารย์. (2553). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่่. เข้าถึงได้จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/435
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา ยนต์สันเทียะ. (2557). รูปแบบและวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2566). รัฐบาลเดินหน้าแผนจัดการขยะพลาสติก ระยะ 2 (ปี 66-70) สอดคล้องศก. BCG. เข้าถึงได้จาก https://www.infoquest.co.th/2023/294729
สำนักงานนโยบายและแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). 4 มิถุนายน 2565 ไทยสร้างขยะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.onep.go.th/4
องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. (2563). โครงการบ้านเมืองสะอาดคนในชาติมีสุข. เข้าถึงได้จาก http://nadee-ud.go.th/files/dynamiccontent/file-231574-16244158941899361137.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลอินทะประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. (2564). โครงการตำบลน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามอง หลังบ้านน่ากิน. เข้าถึงได้จาก https://intapramul.go.th/public/list/data/detail/id/2261/menu/1559/page/5
อรชร ไกรจักร, พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ และพระมหานิติทัศน์ ญาณสิทฺธิ. (2566). พัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเพื่อการจัดการสู่ชุมชมปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1126-1142.
Salika. (2565). โลกที่ถูกถาโถมด้วย “ขยะ” ปัญหาใหญ่และหมักหมมจนยากจะเยียวยา?. เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2022/03/28/world-of-waste-big-problem/
Smith, D. (2010). Exploring Innovation. United Kingdom : Mcgraw Hill Education.