การพัฒนาอินทรีย์ 5 ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

พระมหาภัทรชัย กิจฺจชโย (เพียรประกิจ)
พระมหาไฮ้ ธมฺมเมธี
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาอินทรีย์ 5 ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี 2) พัฒนาอินทรีย์ 5 ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี และ 3) นำเสนอการพัฒนาอินทรีย์ 5 ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึกรวม 21 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาอินทรียผู้ปฏิบัติต้องปรับคุณธรรมเหล่านี้ให้สมดุลกัน สัทธากับปัญญา หากศรัทธามากไปจักทำให้เป็นผู้เชื่อโดยงมงาย จึงจำเป็นต้องเจริญปัญญาให้มากขึ้นเพื่อรู้ตามความเป็นจริง 2) การพัฒนาอินทรีย์ 5 เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อการปฏิบัติ คือ สำนักปฏิบัติที่ร่มรื่น สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีสถานที่ปฏิบัติที่มีความพร้อม และ 3) แนวทางการพัฒนาอินทรีย์ 5 เริ่มต้นจากการศึกษาเล่าเรียนและคิดวิเคราะห์ วิจัย ตั้งสมติฐาน ถกเถียงหาเหตุผล ยังไม่เพียงพอที่จักเป็นใหญ่ หรือเป็นอินทรีย์ได้ ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติลงมือทดลองดำเนินการด้วยประสบการณ์ตรง ที่เรียกว่าภาวนา ทำให้มี ทำให้เจริญ มีสติระลึกรู้สภาพธรรมตามเป็นจริงในขณะปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
พระมหาภัทรชัย กิจฺจชโย (เพียรประกิจ), พระมหาไฮ้ ธมฺมเมธี, & ศิริโรจน์ นามเสนา. (2025). การพัฒนาอินทรีย์ 5 ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 44–54. https://doi.org/10.14456/jra.2025.30
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐจิตต์ เลาห์วีระ. (2555). ศึกษาการพัฒนาอินทรีย์ในอินทริยภาวนาสูตร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน. (2564). กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสมาธิกับปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัทสำนักพิมพ์แอนด์โฮล์ม จำกัด.

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.