การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป

Main Article Content

พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร
ภาสกร เรืองรอง
พิชญาภา ยวงสร้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ แบบประเมินรับรองคุณภาพ ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป มีทั้งสิ้น 9 องค์ประกอบหลัก และ 38 องค์ประกอบย่อย โดย 7 องค์ประกอบหลักด้านบริบท ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านสื่อการสอน 2) องค์ประกอบด้านผู้สอน 3) องค์ประกอบด้านเนื้อหาวิชา 4) องค์ประกอบด้านผู้เรียน 5) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6) องค์ประกอบด้านวิธีการสอน และ 7) องค์ประกอบด้านการประเมินผล และ 2 องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ ได้แก่ ด้านขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) ผลการหาคุณภาพของรูปแบบผู้เชี่ยวชาญมีความเห็น ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.43, S.D. = 0.20) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.51, S.D.=0.66)  และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{X}= 4.59, S.D.=0.76) และองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในระดับมาก คือ ด้านสื่อการสอน (gif.latex?\bar{X}= 4.47, S.D.=0.67) ด้านผู้สอน (gif.latex?\bar{X}= 4.42, S.D.=0.77) ด้านเนื้อหาวิชา (gif.latex?\bar{X}= 4.42, S.D.=0.71) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (gif.latex?\bar{X}= 4.45, S.D.=0.71) ด้านผู้เรียน (gif.latex?\bar{X}= 4.43, S.D.=0.69) ด้านขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{X}= 4.38, S.D.=0.71) และด้านวิธีการสอน (gif.latex?\bar{X}= 4.37, S.D.=0.73) ตามลำดับ ทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรองคุณภาพของรูปแบบทุกองค์ประกอบ

Article Details

How to Cite
ลักษณะวิเชียร พ. ., เรืองรอง ภ. ., & ยวงสร้อย พ. . (2025). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 227–246. https://doi.org/10.14456/jra.2025.42
บท
บทความวิจัย

References

กอบชัย สิริพงศ์ดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วย อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่งบนสมาร์ทโฟน สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาของไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

จันทกานต์ พันเลียว. (2562). การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศในรายวิชาโครงงานสารสนเทศศาสตร์ของนิสิต ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฌอริสา นันทา. (2565). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรางคณา โตโพธิ์ไทย. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อสังคมสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : สำนักบรรณสารสนเทศ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอส.อาร์.พริ้นท์ติ้ง แมสโปรดักส์.

วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต. (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). สุโขทัย : วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อัจฉรา เชยเชิงวิทย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 1(1), 163-178.

Brian, J. B. (2010). Hybrid Courses with Flexible Particpation-The Hyflex Design. Retrieved from https://www.igi-global.com/gateway/chapter/92972# pnl RecommendationForm

Santos, M. V. & Mayoral, R. M. (2018). Information literacy in managers’ education. Journal of Business & Finance Librarianship, 23(2), 167-182.