พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ศุภกาณฑ์ เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 200 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane และใช้กรอบแนวคิดการวิจัยจากงานวิจัยของสมพงค์ ทองบริบูรณ์ โดยมีปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นตัวแปรต้น และมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดเป็นตัวแปรตาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .67-1.00 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 30 ชุด ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .991 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ส่วนมากเคยได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดร้อยละ 84.50 และ 2) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}=  4.64)

Article Details

How to Cite
เจริญสุข ศ. . (2025). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจรุ่นที่ 14 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 131–144. https://doi.org/10.14456/jra.2025.36
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือการสอนทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กิตติศักดิ์ คงธนเตชะโสภณ. (2558). บทบาทของครอบครัวในการป้องกันยาบ้าในวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชธร ปูรณะปัญญา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดบุรีรัมย์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดนิตา สายทองสุก, บุญวัฒน์ สว่างวงศ์, ธัญชนก สุรขันธ์. (2562). ยาเสพติดและพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “การเรียนรู้ด้านมนุษย์ศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์” ครั้งที่ 3 (น. 1743-1756). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรภัค พานพิศ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันปัญหายาเสพติดของนักศึกษานอกระบบ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ( วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). โครงการบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (2552, 15 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนที่ 66 ก, หน้า 49.

เพ็ญลักษณ์ บุญความดี. (2553). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาบ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมพงค์ ทองบริบูรณ์. (2561). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนาทวี.(สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 5-55.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.