การพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม

Main Article Content

สมาน ศิริเจริญสุข
บุญทัน ดอกไธสง
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการ และ 2) พัฒนาการบริหารจัดการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและนักวิชาการที่เลือกแบบเจาะจง 25 รูป/คน การวิเคราะห์ SWOT Analysis, TOWS Matrix และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการบริหารจัดการการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรมมีการเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่อง คือ การเตรียมหรือพัฒนาบุคลากร การจัดหางบประมาณ และพัฒนาความพร้อมของอาคารสถานที่เพื่อรองรับโครงการ ผ่านกระบวนการ PDCA คือ วางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนา และ 2) การพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย 2.1) การสนับสนุนให้โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ (ฉันทะ) ซึ่งกระทำในลักษณะของ ภารกิจหลัก ภารกิจเชิงรุก กระบวนการยุติธรรมทางเลือก การส่งต่อผู้รับคำปรึกษา และการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีผลการประเมินภาพรวมในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด 2.2) การส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเตรียมความพร้อม (วิริยะ) ผ่านการผลักดันงบประมาณ ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพิ่มช่องทางในการติดต่อ และดำเนินนโยบายต่อเนื่อง ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด 2.3) ด้านการริเริ่มในการสร้างระบบหรือระเบียบการทำงาน (จิตตะ) คือ สร้างระบบการทำงานที่ต่อเนื่อง สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างระเบียบข้อบังคับ และริเริ่มโครงการช่วยเหลือ ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด และ 2.4) ด้านการทบทวนในประเด็นที่ยังมีข้อขัดข้อง (วิมังสา) คือ ทบทวนระบบอาวุโสศาล และทบทวนการทับซ้อนเชิงภารกิจ ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศิริเจริญสุข ส. ., ดอกไธสง บ. ., & สุยะพรหม ส. . (2025). การพัฒนาการบริหารจัดการในการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลยุติธรรม . วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 279–296. https://doi.org/10.14456/jra.2025.45
บท
บทความวิจัย

References

กำพล รุ่งรัตน์. (2557). การดำเนินการคลินิกจิตสังคมกับแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดกรณีศึกษา: คลินิกจิตสังคมศาลจังหวัดปทุมธานี. (ผลงานส่วนบุคคลหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น). สำนักงานศาลยุติธรรม : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม.

ธเดช ศรีสวัสดิ์. (2565). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิพัฒน์โสภณจิตฺโต (ทับงาม). (2562). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพียงหทัย พงษ์สุวรรณ. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม. (2560). ศาลยุติธรรมเชิงรุก: การอำนวยความยุติธรรมเชิงมนุษยธรรมผ่านกระบวนการทางจิตสังคม. ในเอกสารประกอบการสัมมนา นิติศาสตร์เสวนา ครั้งที่ 3/2560. (อัดสำเนา).

สมภพ นันทโกวัฒน์. (2566). ผู้เสพติดต้องการความช่วยเหลือ: คลินิกจิตสังคมมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าคือคำตอบ. นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรมดุลพาห, 70(1), 15-74.