รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทัชชกร แสงทองดี
ชนิกา แสงทองดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร และ 2) นำเสนอรูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงภาคประชาชนในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 10 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกเจาะจง แห่งละ 50 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวและภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่รัฐ และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสนทนากลุ่ม  ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า นักท่องเที่ยวมีความกังวลด้านความปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนความคิดเห็นต่อการจัดการความปลอดภัยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยเงื่อนไขที่สำคัญในการจัดการความปลอดภัยคือ การดำเนินการทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา และการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2) รูปแบบการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมครอบคลุมการจัดการความปลอดภัย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านอาชญากรรม ด้านอุบัติเหตุ ด้านสาธารณสุข ด้านภัยธรรมชาติ ด้านการหลงทาง และด้านพืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว โดยการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น รัฐบาลและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายชุมชนและอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการในเชิงพื้นที่

Article Details

How to Cite
แสงทองดี ท. ., & แสงทองดี ช. . (2025). รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร . วารสารวิจยวิชาการ, 8(2), 193–210. https://doi.org/10.14456/jra.2025.40
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ทองทั่ว และคณะ. (2555). โครงการกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนของนักศึกษาและชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ณัฐฎิญา วรรณสุข. (2561). มาตรการของนโยบายการพัฒนาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ดารณี อาจหาญ, เกิดศิริ เจริญวิศาล และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2565). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พักชุมชนวัฒนธรรมยั่งยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 186-204.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์ดนัย ปรังฤทธิ์. (2561). จิตสำนึกการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านจ่าโบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(2), 224-260.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุขภาพคนไทย 2558. (2558). อุบายขาดสุขภาพ: เมื่อสุขภาพเป็นสินค้า ยาคือเครื่องมือหากำไร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุขสัณห์ เชื้อวงศ์งาม. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 1-14.

World Economic Forum. (2019). The Travel & Tourism Competitiveness Report 2019. Geneva : World Ecomomic Forum.

World Tourism Organization. (1996). Tourist Safety and Security: Practical Measures for Destinations. Madrid : World Tourism Organization.