การเตรียมความพร้อมและการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจของประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ภัยพิบัติบนเขตรอยเลื่อนในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรนันต์ ไชยงาม นอกซ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรีพันธุ์ พันธุ
กันย์ธนัญ สุชิน
ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์
ทิพวรรณ เมืองใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบการเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ภัยพิบัติบนเขตรอยเลื่อนในจังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและการรับมือของประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ภัยพิบัติบนเขตรอยเลื่อนในจังหวัดเชียงราย และเพื่อประเมินสภาวะทางจิตใจและแนวทางฟื้นฟูตนเองให้กลับมาดำเนินชีวิตอยู่หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติได้ พื้นที่การวิจัย 4 อำเภอ คือ อำเภอแม่ลาว อำเภอพาน อำเภอ
แม่สรวย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีจำนวนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 100 คน และการสนทนากลุ่ม มีจำนวนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 322 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลอง ใช้เครื่องมือการวิจัย คือโปรแกรมการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่มีกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการสะเทือนขวัญ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 333 คน โดยการสุ่มแบบสมัครใจ


จากการวิจัยพบว่า การเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวบนเขตรอยเลื่อนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน อาทิ เกิดภาวะเครียด นอนไม่หลับ หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคความเครียดหลังเกิดเหตุวิกฤต และผลกระทบทางวัตถุ อาทิ เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ


ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเตรียมความพร้อมและการรับมืออยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 และผลวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินสภาวะทางจิตใจจากแบบประเมินผลการกระทบทางจิตใจหลังเกิดเหตุการสะเทือนขวัญของกลุ่มตัวอย่างมีผลคะแนนรวมส่วนใหญ่มีความทุกข์ทรมานทางจิตใจปานกลาง จากการเปรียบเทียบสภาวะทางจิตใจหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ของกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
Knox ๋. C., พันธุ ภ., สุชิน ก., จันท์พิพัฒน์พงศ์ ธ., & เมืองใจ ท. (2023). การเตรียมความพร้อมและการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจของประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ภัยพิบัติบนเขตรอยเลื่อนในจังหวัดเชียงราย. วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(1), 221–245. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawcrru/article/view/255575
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ หลาสุวงค์. ความพร้อมในจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540.

กาญจนา สุนทรสิทธิพงศ์. “ความเครียดในการปฏิบัติงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัทคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย จำกัด โรงงานปทุมธานี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.

กรุงเทพธุรกิจ. “รู้จัก 'โรคเครียดเฉียบพลัน' หลังเหตุสะเทือนขวัญ 'กราดยิงโคราช'.” 2563. https://www.bangkokbiznews.com/social/865617. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564.

กรมทรัพยากรธรณีวิทยา. “รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.3 ริกเตอร์ บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย.” 2557. http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid= 58028. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ RQ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต, 2552.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลช่วยเหลือจิตใจผู้ประสบภัย : ระยะฟื้นฟู (สำหรับบุคลากรสาธารณสุข). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2548.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด, 2561.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการอบรมเรื่องการสร้างเสริมความหยุ่นตัว เพื่อรองรับวิกฤตสุขภาพจิตแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่อง. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, 2551.

กัณฐิตาภรณ์ บุญประกอบ. “การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559.

ชูทิตย์ ปานปรีชา. จิตวิทยาทั่วไป หน่วยที่ 9. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.

ดารา การะเกษร และวินีกาญจน์ คงสุวรรณ. “การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตสำาหรับสตรีหม้ายที่เผชิญอาการโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญจากสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย.” วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 29, ฉ.1 (2558): 14-26.

ธงชัย สันติวงษ์. การรับรู้. http://www.novabizz.com. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564.

พบแพทย์. “ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (GAD).” https://www.pobpad.com/gad-ภาวะวิกตกังวลทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564.

ราเชนทร์ พูลทรัพย์ และบุญสม วราเอกศิริ. “แนวทางการจัดการตนเองของชุมชนจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้านแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย.” วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 10, ฉ.1 (มกราคม-เมษายน 2017).

สิริอร วิชชาวุธ. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2549.

สมนึก สกุลหงส์โสภณ. “ประสิทธิภาพผลการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอยต่อการลดความเครียด และเพิ่มความสามารถการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), รูปแบบความเสียหายในจังหวัดเชียงราย, http://www.thaiseismic.com/chr_damage/, สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565.

Barrow, R., & Milburn, A Critical Dictionary of Educational Concepts. (2nd ed.). New York: Teachers Collage, 1990.

Downing, J., & Thackrey, D, Reading Readiness, London: University of London, 1971.

Gidanan ganghair. “เตือนโรค PTSD เครียดหลังแผ่นดินไหว.” https://www.thaihealth.or.th/Content/24180. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement (September 1, 1970): 607-610.

Wagnild, G., & Young, H., “Development and psychometric evaluation of the resiliency scale,” Journal of Nursing Measurement (Winter 1993): 165-178.