รูปแบบการจัดการเรียนรู้กฎหมายการอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้แก่เยาวชนในเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพร มูลรัตน์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์บำรุงรักษาโบราณสถาน และศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้กฎหมายการอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่ากฎหมายที่สำคัญในการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุคือ (1) พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการดูแลรักษา การควบคุมโบราณสถาน การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน บทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ตลอดถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ อธิบดีกรมศิลปากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ (2) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนในการพัฒนาเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ (3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งได้บัญญัติถึงหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในการช่วยกันอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุของประเทศชาติไว้ และจากการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องมีกิจกรรมการบรรยายความรู้ทางกฎหมายโดยการใช้คลิปวีดีโอที่มีผู้แสดงเป็นเน็ตไอดอลของอำเภอเชียงแสน ประกอบกับการบรรยายโดยนักศึกษาและอาจารย์สำนักวิชานิติศาสตร์ และมีกิจกรรมทดสอบความรู้โดยการใช้เหตุการณ์จำลองบริเวณโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งจากการประเมินผลสัมฤทธิ์พบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทำการทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการอนุรักษ์โบราณสถานมีระดับคะแนนที่สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 63 ของนักเรียนทั้งหมด แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้กฎหมายการอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เยาวชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดการเรียนการสอนความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานและประวัติศาสตร์ของชุมชนให้แก่นักเรียนในโรงเรียนในเขตเทศบาลเวียงเชียงแสน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และห่วงแหนโบราณสถานอันเป็นประวัติศาสตร์ของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิทักษ์ ศศิสุวรรณ, สุรพี โพธิสาราช และยิ่งศักดิ์ เพชรนิล. “การบังคับใช้กฎหมายและแนวทางเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่โบราณสถานของเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย.” วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ 4, ฉ.2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563): 218.

พีรวัชร์ ราชิวงศ์. แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561

วรพรต ลือเลิศ, พระราชปริยัติมุนี(เทียบ สิริญาโณ) และแม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. “การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามหลักพุทธบูรณาการ.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 5, ฉ.3 (กันยายน – ธันวาคม 2561): 963.

วันชัย วัฒนศัพท์. ระบบทวิภาคกับการแก้ไขปัญหาแรงงานในรัฐวิสาหกิจ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพมหานคร: กองรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน, 2549.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. การพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531.