มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันทางธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย

Main Article Content

อัจฉริยา วงษ์บูรณาวาทย์

บทคัดย่อ

วิสาหกิจเริ่มต้นเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในหลายประเทศจึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกัน แม้ในประเทศไทยจะมีการตราพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อเปิดช่องให้สามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ แต่วิสาหกิจเริ่มต้นของไทยก็ยังต้องเผชิญข้อจำกัดและความท้าทายในหลายประการ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากวิสาหกิจเริ่มต้นเองในการนำทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ปัญหาการจำกัดให้เฉพาะสถาบันการเงินและกิจการที่กฎหมายกำหนดเป็นผู้รับหลักประกัน ปัญหาในการบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่มีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันอย่างแพร่หลาย เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยจากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการและแนวทางในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันทางธุรกิจให้มีความแพร่หลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการสนับสนุนให้วิสาหกิจเริ่มต้นสามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันได้มากขึ้น การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกัน และการพัฒนาระบบที่ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยให้วิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและสากล อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

Article Details

How to Cite
วงษ์บูรณาวาทย์ อ. (2025). มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันทางธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย. วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), 125–149. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawcrru/article/view/279112
บท
บทความวิจัย

References

กรวิทย์ เอ่งล่อง. “ลักษณะและแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย.” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2562. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Korawit.Eng.pdf. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2567.

ข่าวสด. “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา (IP Mart).” 2566. https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_7844051. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.

จักรกฤษณ์ ควรพจน์. กฎหมายสิทธิบัตร แนวความคิดและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2560.

ชนาธิป ลิ้มขจรเดช. “ปัญหากระบวนการในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ.” เอกัตศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.

ณัชพงษ์ สำราญ. “นโยบายและกฎหมายกับการส่งเสริม Startup ในประเทศไทย.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 40, ฉ.4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563): 200, 201–203.

ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์, และศิวพร เสาวคนธ์. “การพัฒนาตลาดซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นหลักประกันตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ.” วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 10, ฉ.12 (มกราคม-ธันวาคม 2565): 216.

ภัทรพร เกาฑัณฑ์ทอง. “การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ: ปัญหาและการบังคับใช้.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

ระวิวรรณ ทวิชสังข์. “ปัญหาหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562.

วิจัยกรุงศรี. “บทบาทของหลักประกันในภาคการธนาคารยุคใหม่.” 2564. https://thaipublica.org/2021/04/krungsri-research-the-role-of-collateral-in-the-modern-banking-world-01/. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2567.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. “ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาค้ำประกันเงินกู้เกิดได้หรือไม่.” 2016. https://tdri.or.th/2016/10/2016-09-01/. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2567.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. “สตาร์ทอัพ/สมาร์ทเอสเอ็มอี/กิจการเพื่อสังคม.” 2567. https://www.nia.or.th/segment/startup-social-enterprise. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2567.

อิสรัตน์ ธำรงมาศ. “แนวทางการบังคับสิทธิในการนำทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558.” การค้นคว้าอิสระ นิติศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558.

Andhov, Alexandra. Importance of Start-up Law for Our Legal Systems. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing, 2020.

Bjerre, Carl S., Kleinberger, Daniel S., Smith, Edwin E., and Weise, Steven O. “LLC and Partnership Transfer Restrictions Excluded from UCC Article 9 Overrides.” 2019. https://businesslawtoday.org/2019/02/llc-partnership-transfer-restrictions-excluded-ucc-article-9-overrides/. accessed November 7, 2024.

Bornheim, Jan Jakob. Security Rights in Intellectual Property in England and Wales. Berlin: Springer, 2020.

FasterCapital. “Success Stories of Startups Using IP as Collateral.” 2024. https://fastercapital.com/topics/success-stories-of-startups-using-ip-as-collateral.html. accessed November 7, 2024.

Griffin Mills, Alicia. “Perfecting Security Interests in IP: Avoiding the Traps.” The Banking Law Journal 125. No.xv (September 2008): 751–52.

Gough, William James. Company Charges. London: Butterworths, 1978.

IIPRD. “IP as Collateral.” 2021. https://www.iiprd.com/ip-as-collateral/. accessed November 7, 2024.

Leesa-nguansuk, Suchit. “Flash Group Becomes First Thai Unicorn.” 2021. https://www.bangkokpost.com/business/general/2124699/flash-group-becomes-first-thai-unicorn. accessed December 10, 2024.

Mills, Alicia Griffin. “Perfecting Security Interests in IP: Avoiding the Traps.” The Banking Law Journal 125, No. xv (September 2008): 751–52.

NatWest. “Sci-Net Secures Market-First IP-Backed Loan.” 2024. https://www.natwest.com/corporates/about-us/case-studies/sci-net-secures-market-first-ip-backed-loan.html. accessed November 7, 2024.

UK Intellectual Property Office. Banking on IP? The Role of Intellectual Property and Intangible Assets in Facilitating Business Finance. Intellectual Property Office Research Paper No. 2013/34.

World Intellectual Property Organization. “Country Perspectives: The United Kingdom’s Journey.” WIPO Publication. No.RN2023/42, (2023): 38–40.

World Intellectual Property Organization. “Utility Models.” 2024, https://www.wipo.int/web/patents/topics/utility_models, accessed November 7, 2024.