จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ เจ้าของบทความต้นฉบับ (Author ethics)

  1. เจ้าของบทความต้นฉบับไม่ควรมีการคัดลอกผลงานตนเอง และผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดยทางกองบรรณาธิการจะนำบทความวิจัยต้นฉบับที่ท่านส่งมาเข้าตรวจสอบกับระบบ Turn-it in program หากมีการซ้ำข้อความร้อยละ 30 จะไม่รับพิจารณาบทความ
  2. เจ้าของบทความต้นฉบับควรมีการเซ็นรับรองผลงานจากผู้เขียนทุกคน ทั้งนี้หากไม่มีการเซ็นรับรองอาจทำให้กระบวนการพิจารณาคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการตีพิมพ์เผยแพร่บทความล่าช้าออกไปได้
  3. เจ้าของบทความต้นฉบับต้องตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง ภาพหรือข้อความที่ยกมาอ้างถึงควรได้รับการอนุญาตจากเจ้าของผลงาน และตรวจสอบตัวเลขและรูปแบบตารางที่เป็นผลงานมาจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างแท้จริง
  4. เจ้าของบทความต้นฉบับต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลอันเกี่ยวกับสถิติ ตัวเลข
  5. กรณีที่เจ้าของบทความต้นฉบับได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัย โปรดระบุชื่อหน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุนในบทความต้นฉบับ
  6. เจ้าของบทความต้นฉบับต้องระบุกระบวนการศึกษาวิจัยที่มีมาตรารองรับ ดังนั้นควรระบุเลขรับรองจริยธรรม วันที่รับรอง และหน่วยงานที่ให้การรับรอง
  7. เจ้าของบทความต้นฉบับต้องไม่ส่งบทความฉบับเดียวกันนี้ไปตีพิมพ์วารสารอื่น ๆ ในเวลาเดียวกัน

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความต้นฉบับ (The ethics of Peer review)

  1. วารสารสุขศึกษาเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความโดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาระทางวิชาการในบทความนั้น มีมาตราฐานขั้นสูงในการพิจารณาบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ และใช้มาตราฐานของ Double blind peer review ซึ่ง Peer review ไม่ขึ้นกับสังกัดใด ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เปิดเผยตัว (Anonymous expert referee) มีความรับผิดชอบด้วยการพิจารณาคุณภาพตามมาตราฐานที่สม่ำเสมอในทุกบทความ เที่ยงธรรมและทันเวลาที่วารสารกำหนดไว้
  2. วารสารสุขศึกษายังยึดตามหลักของ The Committee on Publication Ethics (COPE) ซึ่งประกอบด้วยหน้าที่รับผิดชอบหลัก 3 ประการ ได้แก่

ประการที่ 1 การรักษาความลับ (Confidentiality) การคุ้มครองความลับของเจ้าของบทความต้นฉบับ มิควรนำความคิดเห็นในบทความไปใช้เพื่อหาผลประโยชน์โดยส่วนตนเองเป็นเรื่องสำคัญ และมีหลักปฏิบัติในการรักษาความลับ ดังนี้

  • จะไม่เผยแพร่บทความต้นฉบับหรือความคิดเห็นของตนเองไปยังที่อื่น ๆ นอกเหนือจากหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • ไม่ใช้ข้อมูลจากบทความต้นฉบับหรือความคิดเห็นของตนเองไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นการเสียประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ประการที่ 2 ความเป็นกลาง (Objectivity) เป็นข้อจริยธรรมที่กระทำได้อย่างต่อเนื่อง หากดำเนินการได้ตามข้อแรก มีแนวปฏิบัติความเป็นกลาง ดังนี้

  • ผู้ทรงคุณวุฒิมีการประเมินอย่างเที่ยงธรรม หลีกเลี่ยงอคติเชิงลบ และเชิงบวก อคติทางเชื้อชาติ ภาษา
  • ดำเนินการ Double blinded เป็นการปกปิดชื่อผู้เขียนเพื่อลดอคติ และต้องปกปิดชื่อผู้เขียนเพื่อลดการโต้เถียงอันรุนแรงซึ่งอาจควบคุมได้ยากในภายหลัง และเป็นการวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา
  • ดำเนินการชี้แจงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน โดยกำหนดให้ต้องมีการเซ็นรับรองจากผู้นิพนธ์ต้นฉบับทุกคน
  • หลีกเลี่ยงการดูถูกดูหมิ่นเจ้าของบทความต้นฉบับเป็นการส่วนตัว

ประการที่ 3 ความสม่ำเสมอในการพิจารณา เป็นประเด็นของความเหมาะสมต่อการประเมินอย่างเที่ยงธรรม ซึ่ง Reviewer จะต้องมีใจเป็นกลาง และมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  • ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความต้นฉบับ
  • บทความต้นฉบับมีสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวารสาร
  • ทางกองบรรณาธิการยินยอมให้ Reviewer ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอ่านบทความตลอดทั้งฉบับ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิส่งคืนบทความที่พิจารณาให้ตรงเวลา มีความรับผิดชอบ และไม่ทอดทิ้งงาน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการตามขอบเขตตามนโยบายของวารสาร
  • ความคิดเห็นที่ป้อนกลับนั้นจะต้องเต็มไปด้วยความเคารพในผลงานของเจ้าของบทความต้นฉบับ (Respectful tone) มากกว่าการตั้งหน้าวิจารณ์ และกองบรรณาธิการ รวมทั้งผู้แต่งสามารถเสนอแนะความคิดเห็นในบทความต้นฉบับอย่างมีแหล่งอ้างอิง มีงานวิจัยที่แน่ชัดซึ่งทำให้งานวิจัยได้รับการพัฒนาและชัดเจนยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้นั้นจะทำให้ผู้นิพนธ์เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของวารสาร โดยการประเมินคุณภาพของ Reviewer วารสารสุขศึกษาจึงยึดตามหลักการจริยธรรมที่กล่าวมาแล้ว

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร (Editors Ethics)

  1. บรรณาธิการต้องดำเนินการประเมินคุณภาพ และมีการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความในการตีพิมพ์เผยแพร่ด้วยเหตุผลทางวิชาการ
  2. บรรณาธิการต้องไม่รับบทความที่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการส่งพิจารณาตีพิมพ์จากที่อื่น
  3. บรรณาธิการต้องวางตัวเป็นกลางในการประเมินคุณภาพ ไม่ใช้อคติส่วนตัวในการตัดสินบทความ ไม่ว่าบทความที่ได้รับจะเป็นของบุคคลใดก็ตาม และจะไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างไร้เหตุผลอันสมควร จะต้องใช้เหตุผลและความถูกต้องตามหลักวิชาการ ในการตัดสินใจเท่านั้น โดยต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง
  4. บรรณาธิการต้องไม่หาประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่น ๆ
  5. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความในวารสารของตนเอง
  6. บรรณาธิการต้องตอบรับการตีพิมพ์ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเท่านั้น จะไม่ออกใบตอบรับก่อนกระบวนการประเมินจะสิ้นสุด
  7. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นอันเด็ดขาด
  8. บรรณาธิการต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ทุกท่านอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้นิพนธ์นั้นจะมีตำแหน่งหรือไม่ก็ตาม โดยจะต้องให้ปฏิบัติด้วยความปราศจากการเลือกปฏิบัติ ตามกฎกติกาที่วารสารกำหนด

บรรณานุกรม

ศูนย์ดัชนีกำหนดแนวปฏิบัติโดย COPE-Committee on Publicatoin Ethics
www.publicationethics/org

การอ้างอิงวารสารไทย (TCI). 2562. ประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI สืบค้นจาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/News/2562/Jun24/News.html

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI). 2018. เกณฑ์รองข้อที่ 8. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=M_0EJ1sBZ-w