เหตุอันเป็นข้อพิจารณาในการเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารกรณีศึกษา การขอให้เปิดเผยการแข่งขัน การสอบคัดเลือก หรือการนำเสนอผลงานวิชาการ

ผู้แต่ง

  • Varit Intrama ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เหตุในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติรองรับ “สิทธิได้รู้” ให้กับประชาชนอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ผ่านพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งอาจจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่มีส่วนก็ต่างมีสิทธิได้รู้ ในขณะที่หน่วยงานของรัฐมีอำนาจที่อาจจะวินิจฉัยไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่คำวินิจฉัยของหน่วยราชการต่างๆ นั้นเป็นที่สุด ประชาชนผู้ไม่พอใจยังสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลคำสั่งของหน่วยงานของรัฐต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) ซึ่งคำวินิจฉัยของ กวฉ. นั้นผูกพันให้หน่วยราชการปฏิบัติตาม ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคำวินิจฉัยของ กวฉ. ที่เกี่ยวข้องกับการขอให้เปิดเผยการแข่งขัน การสอบคัดเลือก หรือการนำเสนอผลงานวิชาการ และวิเคราะห์เหตุอันเป็นข้อพิจารณาของ กวฉ. โดยจะทำการศึกษาคำวินิจฉัย กวฉ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 51 เรื่อง

ผลการศึกษาพบว่า เป็นที่วินิจฉัยให้เปิดเผยทั้งหมด 24 เปิดเผยบางส่วน 19 เรื่องและไม่เปิดเผย 8 เรื่อง โดยวิเคราะห์ได้ว่าเหตุที่ กวฉ. วินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดแก่ผู้อุทธรณ์ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสารเป็นข้อมูลที่ปฏิบัติราชการ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาที่กระทบกับสิทธิของผู้อุทธรณ์ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเพื่อความโปร่งใสในการบริหารงานของหน่วยงานหรือข้อมูลข่าวสารที่กระทบต่อสิทธิโดยตรงของผู้อุทธรณ์ และเหตุที่ กวฉ. วินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลบางส่วนแก่ผู้อุทธรณ์ เป็นข้อมูลข่าวสารที่กระทบต่อสิทธิของผู้อุทธรณ์ แต่อาจมีผลกระทบต่อผู้อื่น ในส่วนของเหตุที่ กวฉ. วินิจฉัยยกอุทธรณ์หรือไม่เปิดเผยข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสารที่การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องใช้ดุลพินิจร่วมกันของหลายคนและมีข้อมูลข่าวสารอื่นชี้แจงไว้แล้วหรือข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกที่ใช้ระบบคลังข้อสอบ ซึ่งคำวินิจฉัยของ กวฉ. มีแนวโน้มอยู่บนพื้นฐานหลักความได้สัดส่วนเป็นสำคัญ

 

References

[1] Kriengkrai, Ch. (2012).Public Law Principles and Constitutional Law. Bangkok: Chulalongkorn University.(In Thai)
[2] Office of the Official Information.(In Thai)
[3] The development of information disclosure system in Thailand.(2011). National Institute
of Development Administration.(In Thai)
[4] Cabinet Resolution. January 28, 2005.(In Thai)
[5] Administrative Procedure Act (NO.2), B.E. 2014.(In Thai)
[6] Thaweesak, K. and Phatcharawan, N.(2013) The use of proportionality in the adjudication of administrative court cases.Bangkok.(In Thai)
[7] Worraphot, W. Basic principles of Administrative law.Bangkok.(In Thai)
[8] Banchoet, S. and Somsak, N.(2000) Le principe de proportionnalité. German and French law principles, Journal of Administrative law.(In Thai)
[9] Banchoet, S. Fundamental principles of freedom and human dignity.(In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30