ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544

ผู้แต่ง

  • punya junsagoon สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

คำสำคัญ:

ค่าตอบแทนผู้เสียหาย, เหยื่ออาชญากรรม

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาในการรับเงินช่วยเหลือจากรัฐอันเนื่องมาจากการที่รัฐไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมได้ นอกจากนั้น ผู้เสียหายในคดีอาญา ถือเป็นพลเมืองของรัฐที่ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อน การที่รัฐยื่นมือเข้าช่วยเหลือจึงถือว่าเป็นสวัสดิการของรัฐประเภทหนึ่ง                                          

    อย่างไรก็ดี แม้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 จะมีข้อดีหลายประการ แต่มีบางประเด็นที่อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อพัฒนากฎหมายดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่น บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา เฉพาะกรณีผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น หากมีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้รัฐต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างรุนแรงจนสิ้นไร้ปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการช่วยเหลือตนเองได้ กฎหมายดังกล่าวก็จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเนื่องมาจากการก่ออาชญากรรมได้ดียิ่งขึ้น   นอกจากนั้นควรมีในการดำเนินการให้การวินิจฉัยจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาของคณะอนุกรรมการค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในคดีอาญา ประจำจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความเสมอภาคแก่ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคม

References

ภาษาไทย
กรุงเทพธุรกิจ. ยธ.อนุมัติจ่ายเยียวยาผู้เสียชีวิตจากเหตุกราดยิง 27 ศพ. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865993 (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)กรุงเทพธุรกิจ. รัฐบาลจ่ายเยียวยาเหยื่อกราดยิงโคราช 17 ก.พ. นี้. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866346(วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
ไทยรัฐออนไลน์. ผู้ว่าฯ นำแถลงสรุปเหตุกราดยิงโคราชตาย 30 ศพ เจ็บ 58 ราย กลับบ้าน 28 คน. https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1767715 (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
นภาพร สุทธิวงษ์. การจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญา:ศึกษาผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555).

นิฤมน รัตนรัต, “แนวทางและหลักเกณฑ์การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมและมนุษยศาสตร์ 5, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558). https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/48472/40271(วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
ประธาน วัฒนวาณิชย์, “กฎหมายทดแทนความเสียหายแก่เหยื่ออาชญากรรม: แนวคิดทางด้านรัฐสวัสดิการ”, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 9 (พ.ศ. 2520). มาร์ค เจริญวงศ์. สารพันกฎหมายหมาย. ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/content/421661 (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ และสุรวุฒิ รังไสย์, “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ,” วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น 21 2561). https://so04.tci-thaijo.org/index.php/llsj/article/view/150752/110390 (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)


ภาษาอังกฤษ
Claim compensation if you were the victim of violent crime. https://www.gov.uk/claim-compensation-criminal-injury/print (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
John E.Conklin, Criminology. (New York: Macmillan Pubiishing Co,Inc.,1981) .
National Association of Crime Victim Compensation Boards. Crime victim compensation : An overview. http://www.nacvcb.org/index.asp?bid=14. (วันที่สืบค้น: 28 กุมภาพันธ์ 2562)
Stephen Schafer, Restitution to Victims of Crime,( London: Stevens&Sons, 1960).
Stephen Schafer, Victimology: The Victim and His Criminal, (Virginia:Reston Publishing Company Inc, 1997 ).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30