พิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน 2004 และข้อพิจารณาบางประการ
ธีรยุทธ ปักษา
คำสำคัญ:
อาเซียน, กฎบัตรอาเซียน, การระงับข้อพิพาทบทคัดย่อ
ใน ค.ศ. 2007 อาเซียนได้จัดทำกฎบัตรอาเซียนและพิธีสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งกฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนธรรมนูญสูงสุดของอาเซียนโดยการปรับเปลี่ยนจากการเป็นองค์กรที่มีฐานทางการเมืองมาสู่องค์กรที่มีฐานทางกฎหมายอันส่งผลให้อาเซียนเกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี แทนที่กฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในสายตาของประชาคมโลกมากขึ้นแต่กฎบัตรอาเซียนกลับเป็นเพียงแค่ความตกลงที่ปราศจากประสิทธิภาพและไม่มีความโดดเด่นเหมือนที่คาดหวังเอาไว้ ซึ่งบทความนี้จะอธิบายและศึกษาถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจที่บัญญัติเอาไว้ในกฎบัตรอาเซียน และพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน ค.ศ. 2004 เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนเองในการที่จะระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอาเซียน
References
ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2554). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
พัชร์ นิยมศิลป. (2552). กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียนกับการเป็นองค์กรที่มีฐานทางกฎหมาย. วารสารกระบวนการ
ยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, 4(2), 111-132.
HadiSoesastro. (2008). The ASEAN Community:Unblocking the Roadblocks .Institution of Southeast
Asian Studies(ISEAS). ASEAN Studies Centre : Singapore, Report No.1. 36.
ประสิทธิ์ เอกบุตร. (2550). การระงับข้อพิพาททางการค้าของไทยใน WTO. เอกสารวิชาการหมายเลข 13. โครงการ
WTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชัยศักดิ์ หรยางกูร. (2549). รวมข้อเขียนเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางการค้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ทัชชมัย ฤกษะสุต และ แอน พลอยส่องแสง. (2545). กระบวนการระงับข้อพิพาท:WTO และASEAN. วารสารกฎหมาย
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 21(1), 415-430.
พิมพ์พสุ จวบความสุข. (2551). การระงับข้อพิพาทในเขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก: เขตการค้าเสรี
อาเซียน (AFTA), เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA), เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEPA) และเขต
การค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว