เกณฑ์การวินิจฉัยความเป็นสัญญาทางปกครอง : ศึกษาเฉพาะกรณี สัญญาเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะและสัญญาให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายปกครอง
เดชา สินธุเพ็ชร์
คำสำคัญ:
สัญญาทางปกครอง, บริการสาธารณะ, เอกสิทธิ์ของรัฐบทคัดย่อ
ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 6/2544 ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดคำอธิบายเกี่ยวกับ
สัญญาทางปกครองเพิ่มเติมจากการให้นิยามตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ไว้ว่า “สัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญา
อีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญา
ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครอง
ซึ่งก็คือการบริการสาธารณะบรรลุผล”เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครอง ศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้นำมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมาใช้ในการวินิจฉัยว่า สัญญาของฝ่ายปกครองสัญญาใดบ้างเป็นสัญญาทางปกครอง ซึ่งผลการพิจารณาปรากฏว่าสัญญาของฝ่ายปกครองบางสัญญาเป็นสัญญาทางปกครอง บางสัญญาเป็นสัญญาทางแพ่ง ทั้งที่เป็นสัญญาประเภทเดียวกัน ส่งผลให้เกณฑ์การวินิจฉัยความเป็นสัญญาทางปกครองไม่ชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลแห่งคดีพิพาท เนื่องจากวิธีพิจารณาคดีของ
ศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเป็นเพียงมติที่ประชุมขององค์กรตุลาการ ซึ่งไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวินิจฉัยความเป็นสัญญา
ทางปกครองตามมติที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 6/2544 จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมนิยามสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อให้การพิจารณาของศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
References
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). สัญญาทางปกครอง(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
สิวลี มณีสุขเกษม. (2548). หลักเกณฑ์ว่าด้วยสัญญาทางปกครอง ศึกษากรณี สัญญาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการ, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญชัย แสวงศักดิ์, และ มานิตย์ วงศ์เสรี. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิติกรรมทางปกครองและสัญญาทางปกครอง.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.ผู้แปล. (เมษายน 2542). “สัญญาทางปกครองและสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง” โดย
M. Philippe Turget du Beauregard,วารสารกฎหมายปกครอง,18(1), 2
บุบผา อัครพิมาน. (2545). สัญญาทางปกครอง : แนวคิดและหลักกฎหมายของฝรั่งเศสและของไทย. กรุงเทพฯ : สวัสดิการด้านการฝึกอบรมสำนักงานศาลปกครอง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (มิถุนายน 2542). ข้อความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 29(22), 264
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2560). การใช้กฎหมายโดยเทียบเคียงกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง : หลักทั่วไปและการปรับใช้
ในกฎหมายปกครอง, รวมบทความวิชาการ ในโอกาสอายุ 60 ปี วิษณุ วรัญญู, 1 (1), 180.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว