ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารโดยองค์กรตุลาการ ศึกษากรณีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
คำสำคัญ:
รัฐประหาร,ประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหาร, การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญบทคัดย่อ
เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น การออกประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารมักถูกรับรองให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารไม่ถูกตรวจสอบ
โดยองค์กรตุลาการ งานศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาในการตรวจสอบประกาศและคำสั่งของคณะรัฐประหารโดยองค์กรตุลาการ อันเป็นปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากการมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าว โดยศึกษาถึงสถานะทางกฎหมายของประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหาร และศึกษาวิเคราะห์แนวคำวินิจฉัยของศาลทั้งในอดีตและคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จากการศึกษาพบว่าการมีอยู่ของบทบัญญัติรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศและคำสั่ง คสช. ไม่ได้ส่งผลเฉพาะในคดีที่ศาลต้องตรวจสอบประกาศและคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดปัญหาในคดีที่ขอให้ตรวจสอบการกระทำหรือคำสั่งที่อาศัยอำนาจจากประกาศและคำสั่ง คสช. ด้วย ทั้งในแง่ของปัญหาอำนาจการรับคำฟ้องขององค์กรตุลาการและปัญหาการนำประกาศและคำสั่ง คสช. มาใช้ในฐานะกฎหมาย ส่วนคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมและศาลทหาร พบว่าศาลนำประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มีผลลงโทษทางอาญาต่อบุคคลมาบังคับใช้โดยจำเลยไม่อาจโต้แย้งสถานะทางกฎหมายของประกาศและคำสั่ง
ดังกล่าว และไม่อาจโต้แย้งประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้
References
สายหยุด แสงอุทัย. (2482). วิชาการเมือง เล่มสอง. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน.(พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
-5,8-9,11,15,19-20] วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2561). ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพฯ : อ่านกฎหมาย.
พนัส ทัศนียานนท์.(2523). ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ วารสารอัยการ,3(27), 36-43.
,13-14]จรัญ โฆษณานันท์. (2558). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 19).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
,12] สุรินทร์ สฤษฎ์พงศ์.(2562). ฮันส์ เคลเซ่น และทฤษฎีบริสุทธิ์แห่งกฎหมาย.กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
-18] ศศิภา พฤกษฎาจันทร์.(2560).สำนักกฎหมายบ้านเมืองสมัยใหม่ : ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายในทรรศนะของ Hans Kelsenและ H.L.A. Hart และข้อวิจารณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนัส ทัศนียานนท์.(2523). สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของชนชาวไทย,วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์11(3), 431-452.
เสน่ห์ จามริก. (2540). การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
อดุล วิเชียรเจริญ. (2533). รอยด่างในทฤษฎีรัฎฐาธิปไตยของไทย ใน งานนิพนธ์อันทรงคุณค่าของศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ. กรุงเทพฯ : ชมรมศิลปศาสตร์ รุ่น 1 ทุกคณะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 สั่งลงโทษจำคุกนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกนายบุญเกิด หิรัญคำ และนายอนันต์ ภักดิ์ประไพ เป็นเวลา 7 ปี จากเหตุที่บุคคลทั้งสามยื่นฟ้องคณะรัฐประหารข้อหากบฏ ซึ่งหลังจากบุคคลทั้งสามถูกจำคุกตามคำสั่งดังกล่าวเป็นเวลาเกือบ 2 ปี.
อาทิ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476 พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494 พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการ
ยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500.
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาตรา 21 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2519 มาตรา 29 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 มาตรา 32.
กรณีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้หัวหน้าคณะรัฐประหารหรือบุคคลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การใช้อำนาจคณะรัฐประหารจึงไม่ได้อยู่ในรูปแบบของประกาศหรือคำสั่งคณะรัฐประหารโดยตรง แต่อยู่ในรูปแบบคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะกำหนดบทบัญญัติรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้กับ
การใช้อำนาจดังกล่าวเช่นกัน ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 17
ถือเป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งและการกระทำของคณะรัฐประหารในนามนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 45 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 5 และมาตรา 44 ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีอำนาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”.
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 83/2557 คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 84/2557 คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 85/2557 คำสั่งศาลทหารกรุงเทพ ที่ 6/2558 และคำสั่งศาลทหารกรุงเทพ ที่ 1/2559.
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 69/2561 และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 70/2561.
คำสั่งศาลปกครองนครสวรรค์ คดีหมายเลขแดงที่ 1/2561และคำสั่งศาลปกครองเพชรบุรี คดีหมายเลขแดงที่ 110/2560และคำสั่งศาลปกครองนครศรีธรรมราช คดีหมายเลขแดงที่ 472/2560 คดีหมายเลขแดงที่ 486/2560 และคดีหมายเลขแดงที่ 487/2560.
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. 50/2561คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 60/2561.
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 352/2561 และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 366/2561.
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 930/2559 ซึ่งศาลปกครองไม่รับคำฟ้องแม้เป็นคดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเรือประมงของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นการใช้อำนาจของกรมเจ้าท่าแต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 42/2558 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนทะเบียนเรือที่ระบุชื่อเฉพาะเจาะจง.
คำพิพากษาศาลปกครองเพชรบุรี ในคดีหมายเลขแดงที่ 84/2560คำพิพากษาศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 75/2561และคำพิพากษาศาลปกครองเพชรบุรี คดีหมายเลขแดงที่ 79/2560.
คำสั่งศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 465/2560.
คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ บ. 315/2561.
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ 7767/2559.
คำพิพากษาฎีกาที่ 3578/2560 ลงโทษฐานไม่มารายงานตัวตามประกาศและคำสั่ง คสช.พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 เดือน ปรับเป็นเงิน 3,000บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้หนึ่งปี.
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์. ฐานข้อมูลคดี สุเมศ : ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง. สืบค้น 6 เมษายน 2562, จาก https://freedom.ilaw.or.th/case/606#detail
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์. ฐานข้อมูลคดี หนึ่ง : ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง.สืบค้น 6 เมษายน 2562, จากhttps://freedom.ilaw.or.th/th/case/633
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์. ฐานข้อมูลคดี สงวน : ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว คสช.สืบค้น 6 เมษายน 2562, จาก https://freedom.ilaw.or.th/case/619#progress_of_case
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์. ฐานข้อมูลคดี สิรภพ : ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว คสช. สืบค้น 6 เมษายน 2562, จาก https://freedom.ilaw.or.th/case/583#the_verdict
ความเห็นในคำวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ในคำวินิจฉัยที่ 3-5/2550.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2505.
คำสั่งศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1938/2558ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาโดยอ้างบทบัญญัติมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2506 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว