การพัฒนาตลาดซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นหลักประกัน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
คำสำคัญ:
ตลาดซื้อขาย, ทรัพย์สินทางปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงในการศึกษาและวิจัยเรื่องปัญหาการพัฒนาตลาดซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นหลักประกันตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องมีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า ในวงการธุรกิจของไทยที่ยังไม่ยอมรับทรัพย์สินทางปัญญาในสถานะที่เป็นทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจเท่าที่ควร ประกอบกับข้อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้
ในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ที่ยังขาดกลไกที่จะสร้างและสนับสนุนความเชื่อมั่นในความมีมูลค่าอย่างทรัพย์สินที่แท้จริงของทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการที่ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีตลาดรองรับการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนกลไกที่เป็นดุลยภาคที่จะให้ความคุ้มครอง
ที่เป็นธรรมทั้งแก่ผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) ดังนี้ (1) ปัญหาการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา (2) ปัญหาตลาดรองรับการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา อันนำมาสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ที่เป็นข้อค้นพบสำคัญของการศึกษาวิจัยนี้
การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558คือ (1)เพิ่มเติมตลาดซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญาและคณะทำงาน ในมาตรา 40/1(2)เพิ่มเติมการจำหน่ายทรัพย์สินทางปัญญาให้จำหน่ายที่ตลาดรองรับการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา ในมาตรา 40/2
References
ไชยยศเหมรัชตะ.(2553). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2562). กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
บัญญัติ สุชีวะ. (2559). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.
กำชัย จงจักรพันธ์. (2557). เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : ศรีอนันต์การพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว