การพัฒนากฎหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

ผู้แต่ง

  • สุระทิน ชัยทองคำ คณะนิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ไกล่เกลี่ย; การระงับข้อพิพาท; การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1)เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน(2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา (3) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ.2562 ให้มีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล                                                                           

ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน
ยังมีปัญหาและข้อจำกัดเกี่ยวกับความผิดที่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน ได้แก่ ความผิดลหุโทษ และความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปีตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562  และกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังมีความไม่เหมาะสมหลายประการ เช่น คุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยที่ไม่ได้กำหนดรูปแบบเป็นองค์คณะเอาไว้ รวมทั้งไม่มีกลไกในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจออกคำสั่งในกรณีที่ไม่อนุญาตให้คู่กรณีไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา                 

ข้อเสนอแนะของงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอแนะ แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาท พ.ศ.2562  มาตรา 10 มาตรา 17 มาตรา 41 มาตรา 44 มาตรา 49 มาตรา 73 และมาตรา74

[

References

กรมราชทัณฑ์.(2564).รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์.สืบค้น 7 มิถุนายน 2564จาก http://www.correct.go.th/stathomepage.

กิตติพงษ์กิตยารักษ์. (2550). ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : หลักการและแนวคิด เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา. (2554). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาชั้นสอบสวน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อุทัย อาทิเวช. (2562). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง.

อุดม รัฐอมฤต. (2548). บทบาทของอัยการในมุมมองของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-22