ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการแต่งกายของนิสิต ในมหาวิทยาลัยทักษิณ
คำสำคัญ:
ข้อบังคับ, พฤติกรรม, การแต่งกายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแต่งกายของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณและแนวทางแก้ไขข้อบังคับมหาวิทวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วย เครื่องแบบ เครื่องหมายและเครื่องแต่งกายนิสิตพ.ศ. 2552 ให้ชัดเจนเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถนำแนวทางการแก้ไขข้อบังคับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกายของนิสิตให้มีความเหมาะสมต่อบริบทมหาวิทยาลัยทักษิณทั้งวิทยาเขตสงขลาและพัทลุง โดยวิธีดำเนินการวิจัยศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ทั้งสองวิทยาเขต โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง 389 คน จากจำนวนประชากร 13,693 คน โดยแบ่งวิทยาเขตสงขลา จำนวน 312 คน และวิทยาเขตพัทลุงจำนวน 77 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้สูตรของยามาเน่ ที่มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ทำให้ความคาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 และทำการสุ่มสัดส่วนของประชากรแบ่งตามคณะ
ผลการวิจัยพบว่า ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยว่าด้วยการแต่งกายของนิสิต ไม่มีบทกำหนดโทษ
ที่มีสภาพบังคับใช้อย่างแท้จริง ทางผู้วิจัยจึงเห็นสมควรกำหนดหมวดบทลงโทษนิสิตที่แต่งกายผิดระเบียบฝ่าฝืนข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยเครื่องแบบ เครื่องหมายและเครื่องแต่งกายนิสิต พ.ศ 2552
References
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2558).“ผู้มีวิถีแห่งปัญญา...ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต”.วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 13(2) (ก.ค. - ธ.ค. 2558), 97.
พิสณุ ฟองศรี.วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :เทียมฝ่าการพิมพ์,112.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2544).การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2.
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว.การพัฒนาบุคลิกภาพ.ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2.
ศรีเรือน แก้วกังวาล.ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ.กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 7-8.
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์.จิตวิทยาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ, 14.
Taro Yamane (1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.NewYork.Harper and RowPublications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว