ความรับผิดชอบผู้ประกอบวิชาชีพ ภายใต้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้แต่ง

  • อรรถพงศ์ กาวาฬ
  • อภินันท์ ศรีศิริ LAW UBU

บทคัดย่อ

          บทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. ศึกษาแนวคิด หลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อความรู้เข้าใจ 2. ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยผลจาการศึกษา พบว่า การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีพื้นฐานสำคัญมาจากแนวคิดการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ควรได้รับการคุ้มครอง  ดังนั้นการประกอบวิชาชีพบางลักษณะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่ายด้วยเหตุผลทางวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพจึงจำเป็นต้องเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิของบุคคล ผู้รับบริการต่าง ๆ ไม่แสวงหาประโยชน์ รวมถึงไม่สร้างผลกระทบต่อบุคลนั้น ๆ สุดท้ายจึงมีข้อเสนอแนะสำคัญ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิส่วนบุคคลและ การควรสร้างระบบกลไกในการเก็บข้อมูล รวบรวม  ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม

References

นฤมล วงศ์คุ้มพงศ์. (2551). ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525

พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528

พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537

พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537

กฎกระทรวงกำหนด สาขาวิชาวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

จิตติ ติงศภัทิย์.2545. กฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จิรรัชการพิมพ์

ประมวลกฎหมายอาญา 2499

มาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

คุยสุขภาพ สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565.จาก http://www.doctor.or.th.

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)

ข้อ 17 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)

ชยธวัช อติแพทย์. สิทธิส่วนบุคคล หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลและเทคโนโลยีดิจิทัล. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15