การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความใน พระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทยในอนาคต

ผู้แต่ง

  • วรเกียรติ ไชยชนะ Yala Rajabhat University
  • วิชิต เรืองแป้น
  • สะอุดี มะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อได้รูปแบบการช่วยเหลือประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทยในอนาคตโดยใช้เทคนิค EDFR (Ethnographic delphi Futures Research) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายสิ่งแวดล้อม และคดีสิ่งแวดล้อม จำนวน 24 คน โดยการกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ 2. พนักงานคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง ผู้บริหารศาลยุติธรรม (แผนกคดีสิ่งแวดล้อม) ทนายความอาสาของสภาทนายความในสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในคดีสิ่งแวดล้อม และ 3. ผู้มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ด้านการประนอมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมและส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์เพื่อกาค่าความถี่ และแบบสอบถาม เพื่อหาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มาก และมีความสอดคล้องทางความคิดระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มาสรุปและเขียนเป็นภาพอนาคต มีการตรวจสอบรูปแบบโดยใช้วิธีการสัมมนาแบบอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถผลักดันและส่งเสริมนำนโยบายไปใช้ได้ จำนวน 15 คน เพื่อตรวจสอบ รับรองผลการวิจัย และพิจารณาความเหมาะสมในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ จากภาพอนาคต ซึ่งจะนำมาสู่ฉันทามติเห็นชอบร่วมกัน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นตามกระบวนการวิจัยโดยใช้เทคนิค EDFR  แล้วทำการเก็บข้อมูล จำนวน 2 รอบคือ รอบที่ 1  เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  และรอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายปิดมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยทำการวิเคราะห์หาค่าค่าความถี่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการช่วยเหลือประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทยในอนาคตมีดังนี้

          1.การศึกษาพัฒนาข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการศึกษารูปแบบการช่วยเหลือประชาชนทางสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความในพระราชูปถัมภ์ของประเทศไทย ทั้งนี้โดยการศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายสิทธิ และสวัสดิการของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

  1. การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการการช่วยเหลือประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทยในอนาคต คือการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน โดยสภาทนายความจะสร้างกระบวนการไกล่เกลียเพื่อลดความขัดแย้งและหาข้อยุติ ทั้งนี้เมื่อมีคดีทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจะมี การดูแลจากศาลทั้ง3 ได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมที่ยั่งยืน

          3.การประเมินความเหมาะสมและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือประชาชนทางสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความในพระราชูปถัมภ์ของประเทศไทยการตรวจสอบรูปแบบโดยการประเมินด้วยวิธีการอภิปรายการสนทนากลุ่มเป็นการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ(Connoisseurship) 15 คน พร้อมแนวทางการปฏิบัติยืนยันสอดคล้องกันตามผลของการศึกษาในขั้นต้นตามที่ได้กล่าวมาแล้วโดยมีฉันทามติเห็นสอดคล้องและยืนยันว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมมีหลักเกณฑ์ นำไปใช้ปฏิบัติได้

References

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ชลบุรี. (2564). สิ่งแวดล้อมน่ารู้. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9373. สืบค้นเมื่อวันนที่ 12 มิถุนายน 2564.

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). เอกสารประกอบการอบรมทนายความอาสา ศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์.

,9] บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2560). กฎหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [1]กรมควบคุมมลพิษ. (2563).พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..

,8] สำนักงานส่งเสริมตุลาการ, สำนักงาน. (2560). ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2551). การวิจัยเชิงอนาคต. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร:

เกษมจันทร์แก้ว. (2558). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วสันต์ เกตุพันธ. (2564). เทคนิคการบริหารสภาทนายความสู่ความเป็นเลิศทางวิชาชีพ.วารสารมหาจุฬา. 8(7). กรกฎาคม 2564.

เขตไท ลังการ์พินธุ์. (2560). สิทธิในสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ. วารสารนิติศาสตร์. 10(1) : ไม่ปรากฏเลขหน้า.

สหัส ไพภักดิ์. (2559). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพของทนายความขอแรงในคดีอาญาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ .มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศิริกัญญา เชาวมัย และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ : คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชัยธัช จันทร์สมุด. (2555). กฎหมายสิ่งแวดล้อม : ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. 1(2) : ไม่ปรากฏเลขหน้า.

วิริยะ ว่องวาณิช. (2546). วิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27