มาตรการทางกฎหมายกรณีควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบนำไปสู่การปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประกาศกรมประมง กำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ระหว่างพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป กับพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งทะเลต่ำกว่า 10 ไร่ซึ่งกำหนดควบคุมค่าความเป็นกรด ด่าง ความเค็ม การใช้สารเคมีและสารอื่น ๆ แตกต่างกัน และไม่ได้กำหนดบังคับให้ต้องมีบ่อน้ำทิ้งเพื่อใช้บำบัดน้ำให้มีคุณภาพเป็นไปตามค่ามาตรฐาน อีกทั้งไม่มีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานควบคุมก่อนระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษต่อพื้นดิน แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อม 2) ประเด็นด้านกลิ่นกุ้งที่เหลือจากจับขายแล้วตายอยู่ในบ่อเลี้ยงขาดความชัดเจนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอแนะ 1) ปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งทะเลผู้ประกอบการให้เหมือนกัน กำหนดให้มีบ่อบำบัดน้ำทิ้ง กำหนดให้มีหน้าที่แจ้งเรื่องระบายน้ำทิ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานก่อนระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ สร้างแนวทางมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นจัดตั้งในรูปแบบคณะกรรมการเพื่อบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อตรวจสอบ เฝ้าระวัง แจ้งข้อมูลการกระทำผิด และช่วยกันบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม 2) แก้ไขประกาศพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558มาตรา 78 (7) กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกลิ่นของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อ เริ่มตั้งแต่การควบคุม
ก่อนการจับ ระหว่างการจับ และภายหลังจากการจับกุ้งทะเล ประกาศเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเภทการเพาะกุ้งทะเล โดยให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกำหนดระยะห่างที่เหมาะสมของชุมชนกับพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจควบคุมดูแลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
References
กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560 : 1
พัชรินธร ลังกาปอน กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง. 2564, น. 1-3
ประกาศกรมประมง เรื่อง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลซึ่งเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องแจ้งการประกอบกิจการ พ.ศ. 2562. (2562, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 248 ง, หน้า 3-6
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109, ตอนที่ 37, หน้า 1-43.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. (2547, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121, ตอนพิเศษ 49 ง, หน้า 1-4, .
สมศักดิ์ มณีพงศ์, สายัณห์ สดุดี, เชาวน์ ยงเฉลิมชัย และอัจฉรา เพ็งหนู. (2542). ผลกระทบของการทำนากุ้งต่อทรัพยากรดินและการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่นากุ้งเสื่อมโทรมรวมทั้งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเกลือเพื่อการเพาะปลูก: คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
,11] สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. (2560). คู่มือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
,12] เปรมยุดา กาญจนจันทร์. (2560). การบำบัดฟอสฟอรัสจากน้ำทิ้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มโดยการบำบัดโดยดิน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประกาศกรมประมง เรื่อง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลซึ่งเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชกำหนด
การประมง พ.ศ. 2558 ต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562. (2562, 23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 312 ง, หน้า 5.
,14] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134, ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.
พัชรินทร์ อยู่เย็น, พูลลาภ จันทร์เฉลิม และศักดา พลเข้ม. (2563, มกราคม-เมษายน). "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาการบริหารราชการไทย". วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 327-340. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จากhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/view/241895/164591.
,17] พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. (2535, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเษกษา, เล่ม 106, ตอนที่ 38, หน้า 36.
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. (2537, 2 ธันวาคม).
ราชกิจจานุเษกษา, เล่ม 111, ตอนที่ 53 ก, หน้า 11.
พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. (2558, 13 พฤศจิกายน). ราขกิจจานุเบกษา, เล่ม 132, ตอนที่ 108 ก, หน้า 1-45.
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563. (2563, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137, ตอนที่ 41 ก, หน้า 1-19.
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561. (2561, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135, ตอนพิเศษ 33 ง, หน้า 36-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว