แนวทางการปรับตัวของชาวประมงทะเลไทยภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ อินสตูล -
  • สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์
  • สืบสวัสดิ์ วุฒิวรดิษฐ์

บทคัดย่อ

แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน สังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภค ที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals: SDG 14 Life below water เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าประเทศไทยของเรามีการใช้ทรัพยากรทางท้องทะเลเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ในปริมาณมากทั้งการประมง การเดินเรือ การขนส่งรวมถึงด้านพลังงานจากพวกก๊าซ แก๊สและเชื้อเพลิง และจำนวนรายได้ที่ได้มาจากผลประโยชน์ทางทะเลยังคงตกอยู่ในมือของประชาชนชาวไทยเพียงส่วนน้อย อีกทั้งการใช้ทรัพยากรเป็นไปโดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืน การดูแลรักษาหรือไม่คำนึงถึงการทำอย่างไรให้ทรัพยากรทางทะเลยังคงอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ได้ประโยชน์ได้จนถึงประชาชนรุ่นถัดไป ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจสีน้ำเงินคือ “ความยั่งยืน” บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการปรับตัวของชาวประมงทะเลไทยภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ดังนี้ 1) ส่งเสริมการทำประมง โดยการควบคุมดูแลและพัฒนาการประมงขนาดเล็กเพื่อให้มีศักยภาพและสามารถทดแทนการประมงขนาดใหญ่ได้บางส่วน จะทำให้ผู้บริโภคภายในประเทศมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่จับได้จากการประมงขนาดเล็กจะถูกบริโภคโดยมนุษย์ ไม่ได้
ถูกนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ 2) การสนับสนุนของประชาชนและชุมชนในการจัดการทรัพยากร โดยการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการจัดการทรัพยากร การดูแลทรัพยากร และรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง 3) การส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง4) การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่ง 5) การส่งเสริมภาคประชาชนให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงการนำหลักการความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับอาชิพหรือธุรกิจที่ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางท้องทะเล 6) สร้างการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โดยการเน้นชาวประมงให้มีส่วนร่วมในด้านการลดมลพิษทางทะเล  อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ  ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย  และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี

References

สารัตน์ เถื่อนสุวรรณ และณัฐพัชร อัครกิตติทัศน์. (2559X. ผลประโยชน์แห่งชาติทางท้องทะเลกับความมั่นคงของประเทศ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 7 (2), หน้า 30 - 39.

สุเทพ สิงห์ฆาฬะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในมุมมองของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลกมล อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3 (2), หน้า 127 - 136.

อัศนีย์ มั่นประสิทธิ์ และอิสระ ชาญราชกิจ. (2563). ชุดเอกสารเผยแพร่เครื่องมือประมงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย การประมงของประเทศไทยจากอดีตจนถึงห้วงเวลาการออกพระราชกำหนดประมง พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

กรมการประมง. (2493). เครื่องมือประมงประเภทน้ำเค็มฝั่งมหาสมุทรอินเดีย. กรมการประมง.

กรมการประมง. (2494). ภาพเครื่องมือประมงประเภทน้ำเค็มฝั่งมหาสมุทรอินเดีย. กรมการประมง.

กรมประมง. (2496). เครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทน้ำเค็มในอ่าวไทย. กรมการประมง.

สันต์ บัณฑุกุล. (2511), การประมงอวนลากในประเทศไทย. กรมประมง กระทรวงเกษตร.

กรมการประมง. (2512). เครื่องมือทำการประมงประเภทน้ำเค็มของประเทศไทย. กรมประมง.

กรมการประมง. (2512). ภาพเครื่องมือทำการประมงประเภทน้ำเค็มของประเทศไทย. กรมประมง.

กรมประมง. (2540). คำนิยามและการจำแนกเครื่องมือทำการประมงของไทย. กรมประมง.

กรมประมง. (2551). แผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย. กรมประมง.

กรมทรัพยากรชายฝั่งทางทะเล. (2560). ทะเลอาณาเขต. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560, เข้าถึงได้จากhttp://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/maritimezone_doc3/#.WfLYDI-0.

ปุณฑริกา เรืองฤทธิ์. (2560). รายงานการสัมมนาระดับนานาชาติ Blue Economy Forum 2017. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2560, เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2017/11/blue-economy-2-1/.

ธนิต โสรัตน์. (2560). เศรษฐกิจสีคราม: ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ. (2550). โครงการสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. (2560). อาณาเขตทางทะเล. สืบค้นเมื่อ

กันยายน 2561.เข้าถึงได้จากhttp://www.mkh.in.th.index.php/2010-03-22-18-01-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29