หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงของการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง

ผู้แต่ง

  • ชัชชัย ยุระพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ณัชชาร์พัชร์ คิส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ, หลักการตรวจสอบค้นหาความจริง, การดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงของการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง

จากการศึกษาพบว่า หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและหลักการตรวจสอบค้นหาความจริงสัมพันธ์กัน
ในแง่ที่ว่าหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐนั้นมองว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ การดำเนินคดีอาญาซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจึงต้องอาศัยหลักการตรวจสอบนหาความจริง เพื่อให้ความจริงที่รัฐทราบถูกต้องตรงกับความจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดอันเป็นความจริงในเนื้อหา (ความจริงแท้) ภายใต้กฎหมายคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาเพื่อยกผู้ต้องหาเป็นประธานในคดี กรณีจึงต่างจากการดำเนินคดีแพ่งที่ค้นหาความจริงด้วยหลักต่อสู้ อันเป็นผลให้ได้ความจริงแต่เพียงตามแบบพิธี โดยเฉพาะความจริงที่ได้จากการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องซึ่งพนักงานอัยการเป็นแต่เพียงโจทก์ตามรูปแบบที่มิได้เป็นคู่แพ้ชนะกับจำเลยอย่างแท้จริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในอันจะทำให้รัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การลงโทษ การปล่อยตัวผู้บริสุทธิ์ ในการแก้ไขปัญหาของสังคมที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาตามหน้าที่ของรัฐได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเหมาะสม การดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องโดยปราศจากพยานหลักฐานที่รัดกุมเพียงพอ
แล้วฟ้องจำเลยให้ไปต่อสู้คดีในชั้นศาล เพื่อให้ได้มีการพิจารณาคดีในชั้นศาลโดยผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินเยี่ยงหลักต่อสู้จึงไม่ถูกต้อง

References

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2552). ทฤษฎีอาญา กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน. หน้า 109.

คณิต ณ นคร. (2561). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน. หน้า 86-87.

คณิต ณ นคร. (2558). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาคการดำเนินคดี พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์วิญญูชนหน้า 29-35,358.

ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน หน้า 37.

คณิต ณ นคร. (2530). วิธีพิจารณาความของไทย : หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน. วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (25 กันยายน 2530) หน้า 4.

ชาญชัย แสวงศักดิ์ และวรรณชัย บุญบำรุง. (2543). สาระน่ารู้เกี่ยวกับการจัดทำประมวลกฎหมายของต่างประเทศและของไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์นิติธรรม. หน้า 123-125.

กุมพล พลวัน. (2520). ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา วารสารอัยการ. 1(1)

ชัชชัย ยุระพันธุ์. (2565). หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐกับการเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดี. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 (2022). หน้า 90-107.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐ. ย้อนคดีลักทรัพย์ในตำนาน หนุ่ม 16 ฉกซาลาเปาลูกเดียวเพื่อน้อง. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thairath.co.th/content/849612

กรรภิรมย์ โกมลารชุน. วัตถุแห่งคดีในคดีอาญาคืออะไร? What is the object of criminal proceedings? วารสารกระบวนการยุติธรรม. ปีที่ 7 เล่มที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2557). หน้า 9-10.

ทีมข่าวอาชญากรรมหน้าแรกผู้จัดการ Online. ปส.โต้กรณีจับแพะคดียาเสพติดนอนคุกฟรี 2 ปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://mgronline.com/crime/detail/9560000058913

อรรถพล ใหญ่สว่าง. บทบาทพนักงานอัยการญี่ปุ่นกับการใช้ดุลพินิจในการสอบสวนและดำเนินคดีอาญา (ตอนจบ). มติชนรายวัน. 23 กรกฎาคม 2558.

อิงครัต ดลเจิม. (2563). หลักการแนวคิดทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต. ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 1 หน้า 80.

คณิต ณ นคร. เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://prachatai.com/journal/2013/12/50309

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26