ปัญหาในการบังคับใช้มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • ดลมณิชา พันธุนาคิน -

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และสาเหตุของปัญหาการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนมาตรการในการป้องกันการกระทําความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย เปรียบเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ เพื่อนําไปวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดกรณีให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้สอดคล้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ในการบังคับใช้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในกรณีความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกรณีดังกล่าวได้บัญญัติเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และมาตรา 167 แล้ว

ปัญหาในการบังคับใช้มาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งบัญญัติถึงความรับผิดในกรณีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น
 มีปัญหาที่สำคัญสามประการ ได้แก่ ประการแรก กรณีการบัญญัติองค์ประกอบความผิดกรณีให้สินบน
แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประการที่สอง กรณีเกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมของนิติบุคคลและประการที่สาม กรณีมาตรการบังคับโทษสำหรับนิติบุคคล ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นผลให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
ไม่สามารถป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประการแรก คือ การแก้ไขในส่วนของเจตนาพิเศษ ให้คลุมถึงการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อกระทำการใด ทั้งนี้ไม่ว่าการนั้น จะชอบด้วยหน้าที่หรือไม่ต้องบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดด้วย ประการที่สอง คือ ยกเลิกบทบัญญัติเดิมที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมของนิติบุคคล และประการที่สาม คือ การปรับปรุงแก้ไขมาตรการการลงโทษอื่นเพิ่มเติมร่วมกับโทษปรับที่ได้กำหนดไว้เดิม เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการควบคุมและป้องกันการกระทําความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย: มหาวิทยาลัยบูรพา

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2549). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 93. กรุงเทพฯ:

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

Department of Justice. (2020). Foreign Corrupt Practices Act Provisions. Retrieved from:

http://www.justice.gov/criminal/fraud/fcpa

The UK Bribery Act 2010, September 24,2022, Retrieved from: https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2010/23/section/1

Penal Code, France, September 30,2022, Retrieved from Sub-section 2: Active corruption and influence peddling (Articles 435-9 to 435-10) - Légifrance (legifrance.gouv.fr)

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2562). คู่มือแนวทาง

การกำหนดมาตรการควบคุมภายใน ที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้สินบน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ. นนทบุรีฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ธานี วรภัทร์ (2557). หลักกฎหมายมาตรการบังคับทางอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน

วริศรา สุรเดช (2556). การกำหนดความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานรัฐของต่างชาติ

ในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

จตุรพร จันบุรี. (2553). มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดกับดุลพินิจในการกำหนดโทษคดีอาญา. สถาบันพัฒนา ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547

อุทัย อาทิเวช. (2554). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ:

ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29