การนำหลักความรับผิดอย่างอื่นมาใช้ในกระบวนพิจารณาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 : นิยามความรับผิดอย่างอื่น

ผู้แต่ง

  • พีระพงศ์ ธราเดชสุวรรณ Deputy Director, Muang Phuket Municipal School, Phuket, 83000
  • สาธิตา วิมลคุณารักษ์

คำสำคัญ:

กระบวนพิจารณาคดี, นิยามความรับผิดอย่างอื่น, ศาลปกครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเหตุปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาของศาลปกครอง
ขาดการนำหลักความรับผิดอย่างอื่นไปใช้ในกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทความรับผิดอย่างอื่น
ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประมวลกฎหมาย ตํารา ผลงานวิชาการ คําวินิจฉัย และคำพิพากษาของศาลปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) หลักความรับผิดอย่างอื่นเป็นความรับผิดที่กฎหมายบัญญัติให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิด โดยความรับผิดดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทางละเมิดหรือความรับผิดทางสัญญา ประกอบกับกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจอธิบดี
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาวินิจฉัยคดีพิพาทใดเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นในข้อเท็จจริงแห่งคดีที่ใกล้เคียงกัน ต่างจากศาลปกครองสูงสุดที่กฎหมายให้อำนาจประธานศาลปกครองสูงสุดในการพิจารณาวินิจฉัยกระบวนพิจารณาคดีปกครองในแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่น ในข้อเท็จจริง
แห่งคดีที่ใกล้เคียงกันว่าคดีพิพาทใดเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของความรับผิดอย่างอื่น  ส่งผลต่อมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงแห่งคดี และการบัญญัตินิยาม
ความรับผิดอย่างอื่นจะช่วยสลายมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแห่งการวินิจฉัยตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

References

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชูชาติ อัศวโรจน์. (2560). การฟ้องคดีปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรสาคร: บริษัทนภัสสร.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2551). หลักพื้นฐานกฎหมายปกครองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประสาท พงษ์สุวรรณ์. (2548). สาระสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

ปาลีรัตน์ ศรีวรรณพฤกษ์. (2558). ความรับผิดโดยปราศจากความผิดของบุคคลตามกฎหมายมหาชน

ในประเทศฝรั่งเศส. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 15(2), 1 - 2.

พีระพงศ์ พวงสุวรรณ. (2562). หลักความรับผิดอย่างอื่นแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542: การตีความตาม มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) ในกระบวนพิจารณาของศาลปกครอง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รายการศึกษาวิจัย. (2552). วิเคราะห์คำพิพากษาคดีปกครองของศาลปกครองต่างประเทศ. วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ, (1), 296 – 297.

ฤทัย หงส์สิริ. (2562). ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

วรวุฒิ ทวาทศิน. (2543). กฎหมายปกครองของประเทศฝรั่งเศสกับระบบกฎหมายจารีตประเพณี. กรุงเทพฯ: สำนักฝึกอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครองภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 1) . กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ภาพพิมพ์.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2547). ความรับผิดของรัฐในระบบกฎหมายเยอรมัน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

วิษณุ วรัญญู, ปิยะศาสตร์ ไขว้พันธุ์ และเจตน์ สถาวรศีลพร. (2551). ตำรากฎหมายปกครองว่าด้วยกฎหมายปกครองทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Mahendra P. Singh. (2001). German Administrative Law in Common Law Perspective 2ed. Berlin: Heidelberg.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29