การพัฒนากฎหมายเพื่อความรับผิดทางแพ่ง : กรณีเมาแล้วขับ

ผู้แต่ง

  • ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อละเมิดในกรณีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อละเมิดกรณีที่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ก่อขึ้นของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเพื่อความรับผิดเพื่อละมิดในกรณีเมาแล้วขับในประเทศไทย และ 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะ
ในการพัฒนากฎหมายเพื่อความรับผิดเพื่อละเมิดกรณีเมาแล้วขับในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

          ผลการวิจัยพบว่าเมื่อมีความเสียหายจากผู้บริโภคแอลกอฮอล์ขึ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยได้กำหนดความรับผิดในการชดใช้ความเสียหายตามหลักใครกระทำ คนนั้นต้องรับผิดและหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด โดยกำหนดไว้ในมาตรา 420 และ 437 การกำหนดความรับผิดไว้ในกฎหมายดังเช่นปัจจุบันทำให้การชดเชยหรือเยียวยาผู้เสียหายไม่สามารถเกิดผลได้ในท้ายที่สุด เนื่องจากผู้กระทำละเมิดไม่มีความสามารถในการชดใช้หรือเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้บทบัญญัติที่อาศัยหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมา
ปรับใช้ได้เนื่องจากความเสียหายเกิดขึ้นกับพาหนะด้วยกัน รวมทั้งยังไม่สามารถช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุ
ในสังคมซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของกฎหมายละเมิดได้อย่างเต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของ
รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐอินดีแอนา และรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า รัฐต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้ให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับผู้รับบริการซึ่งได้กระทำละเมิดด้วย การมีบทบัญญัติเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงแนวคิดความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นในเบื้องหลัง และแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของการป้องกันเหตุร้ายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น
โดยไม่คาดคิดจากผู้มึนเมาไว้ตั้งแต่ต้น รวมทั้งได้สร้างมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปพร้อม ๆ กัน

          งานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะคือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติ
ในมาตรา 430/1 ว่า “ผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำต้องรับผิดร่วมกับผู้รับบริการซึ่งได้กระทำละเมิด
หากการให้บริการของตนเกิดขึ้นในขณะที่ผู้รับบริการมีอาการมึนเมาอย่างเห็นได้ชัด”

References

องค์การสุรา กรมสรรพสามิต. (2560). แอลกอฮอล์คืออะไร. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก https://www.liquor.or.th/mobile/aic/detail/แอลกอฮอล์-คืออะไร

บริษัท พี. ไว จำกัด. (ม.ป.ป.). ประเภทของแอลกอฮอล์. สืบค้น 17 มิถุนายน 2566, จาก https://pwai.co.th/blogrp-ประเภทของแอลกอฮอล์/

ม.ป.ช. (ม.ป.ป.). แอลกอฮอล์! ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก http://www.iecm.co.th/cm_news/news_update/knowledge_78.html#

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2562). ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2556. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2564). สถิติระดับประเทศ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก https://alcoholstudy.in.th

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (ม.ป.ป.). สุรา…สร้างภาระอะไรให้กับสังคมไทย. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/151357c9-e942-e811-80df-00155dddb750

กระทรวงยุติธรรม. (2566). กฎหมายน่ารู้ตอนที่ 415 ระดับแอลกอฮอล์เท่าไรเจอโทษเมาแล้วขับหากไม่ยอมเป่า แอลกอฮอล์ผิดกฎหมายหรือไม่. สืบค้น 17 มิถุนายน 2566, จาก https://www.moj.go.th/view/ 81905

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

เช่น พระราชบัญญัติควบคุมแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 29 ที่ระบุว่า “ห้ามจำหน่ายสุราให้กับบุคคล

ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์และคนเมาหากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

พระไพศาล วิสาโล. (2565). เปิดโลกสุราในไทย บันทึกฝรั่งว่าสยามนิยมดื่มแต่น้อย ทำไมกระดกกันอื้อ สมัยรัตนโกสินทร์. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566,

จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_25141

จิราวรรณ พรหมชาติ. (2553). แรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 1(22) อ้างถึงใน ภัคจิรา ภูสมศรี. (2557). แรงจูงใจและกลวิธีเชิงพฤติกรรมการป้องกัน ต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมอนามัย. (2562). โทษ พิษ ภัยของสุรา และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/hp-ebook_13_mini-2/

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข. (ม.ป.ป.). โทษ พิษ ภัยของสุรา และผลกระทบ ต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thatoomhsp.com/ userfiles/โทษ%20พิษ%20ภัยของสุรา%20และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด.pdf

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

พรหมศักดิ์ พรหมศรี. (2564). ละเมิดคืออะไร. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https:// www.promsaklawyer.com/blog/2021/01/24/

,22,25,26,29] ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2563). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และ ลาภมิควรได้. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

,21,23,27,33] วารี นาสกุล. (2559). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.

,31] ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2507). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความรับผิดในผล

แห่งการละเมิดของลูกจ้าง. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์อิสานการพิมพ์.

,30] องอาจ เจ๊ะยะหลี. (2556). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด. ภูเก็ต:

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ธีรยุทธ ปักษา. (2566). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

รุ่งทิวา วีสม. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริงของ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด (สาระนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6466

ไสลเกษ วัฒนพันธุ์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายวิชากฎหมายลักษณะละเมิด ครั้งที่ 1-4. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/dowloads_doc/ term1/salaiket/s1-4.pdf

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

Statista. (2023). Sales market share of the United States alcohol industry from 2000 to 2022, by beverage. Retrieved July 6, 2023, from https://www.statista.com/statistics/233699/ market-share-revenue-of-the-us-alcohol-industry-by-beverage/

Centers for Disease Control and Prevention. (2022). Get the Facts. Retrieved July 6, 2023, from https://www.cdc.gov/transportationsafety/impaired_driving/impaireddrv_factsheet.html#:~:text=In

Findings and declarations of 2013 New Jersey Revised Statutes Title 2A – Administration of Civil and Criminal Justice Section 2A:22A-2

2013 New Jersey Revised Statutes Title 2A – Administration of Civil and Criminal Justice Section 2A:22A-5

Reminger Attorneys at Law. (2013). Indiana Liquor Liability. Retrieved April 28, 2024, from https://www.reminger.com/media/publication/35_Indiana%20Liquor%20Liability%20A pr%202013.pdf

2019 Indiana Code Title 7.1. Alcohol and Tobacco Article 5. Crimes and Infractions Chapter 10. Unlawful Sales Section 7.1-5-10-15.5.

Illinios.gov. (2024). The Illinois Liquor Control Act Turns 90 Today!. Retrieved April 28, 2024, from https://www.illinois.gov/news/press-release.29574.html

2022 Illinois Compiled Statutes Chapter 235 – Liquor 235 ILCS 5 - Liquor Control Act of 1934. Article VI - General Provisions Section 6-21

Hfocus. (2560). “เมาแล้วขับ” หายนะที่ใกล้ตัวคนไทยทั้งประเทศกว่าที่เราคิด. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2017/12/1513

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30