ความสัมพันธ์ระหว่างความสำคัญผิดในข้อกฎหมายอาญากับความชั่วร้าย
คำสำคัญ:
ความชั่วร้าย, ความไม่รู้กฎหมาย, ความสำคัญผิดในข้อกฎหมายอาญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดด้วยความสำคัญผิดในข้อกฎหมายอาญาบนพื้นฐาน “หลักความไม่รู้กฎหมาย” ที่ได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 และ “หลักไม่มีโทษ โดยไม่มีความชั่ว” โดยอาศัยการพิจารณาทฤษฎีความรับผิดในนิติวิธีทางอาญา ประกอบกับหลักจริยศาสตร์เป็นสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการปรับใช้ “หลักความไม่รู้กฎหมาย” โดยเคร่งครัด เพื่อปฏิเสธมิให้ผู้กระทำความผิดสามารถอ้าง “ความสำคัญผิดในข้อกฎหมายอาญา” เป็นข้อแก้ตัวได้นั้น เป็นการไม่สอดคล้องกับ “หลักไม่มีโทษ โดยไม่มีความชั่ว” อันเป็นหลักประกันความชอบธรรมทางเนื้อหาของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอาญา เนื่องจากการไม่ตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของกฎหมายอาญา การตีความกฎหมายอาญาโดยผิดพลาดไป หรือการสำคัญผิดในคุณค่าทางศีลธรรมที่ดำรงอยู่เบื้องหลังกฎหมาย อาจส่งผลให้ผู้กระทำไม่ตระหนักรู้ถึงความผิดกฎหมายในการกระทำของตนได้ทั้งสิ้น กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้นั้นเป็นบุคคลชั่วร้ายน่าตำหนิ หรือสมควรถูกลงโทษได้
ดังนั้นข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือการนำ “โอกาสที่เป็นธรรมในการหลีกเลี่ยงการกระทำความผิด” มาใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาความรับผิดเป็นสำคัญ เพราะหากความสำคัญผิดในข้อกฎหมายอาญาเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าผู้กระทำมีโอกาสในการ “เลือก” ที่จะไม่กระทำความผิดและเป็นบุคคลชั่วร้ายที่สมควรถูกลงโทษ ซึ่งการพิจารณาความรับผิดทางอาญาบน “โอกาสที่เป็นธรรม” นี้ จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญาในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกดำเนินคดีสามารถดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกัน
References
โจชัว กรีน. (2563). พวกฉัน พวกมัน พวกเรา (วิลาสินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซอลท์
พับลิชชิ่ง.
โจนาทาน ไฮดด์. (2563). ความถูกต้องอยู่ข้างใคร (วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: Biblio.
ยูวัล โนอาห์ แฮรารี. (2561). เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (นำชัย ชีววิวรรธน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ยิปซี.
ไมเคิล เจ. แซนเดล. (2557). ความยุติธรรม (สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล, พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: Openworlds.
จรัญ โฆษณานันท์. (2554). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รณกรณ์ บุญมี. (2561). ไม่มีความผิด โดยไม่มีกฎหมาย: สำรวจการปรับใช้กฎหมายในระบบกฎหมาย Anglo-American. วารสารนิติศาสตร์, 47, 1-25.
คณพล จันทน์หอม. (2563). หลักพื้นฐานกฎหมายอาญา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Dubber, M. D. (2005). Theories of crime and punishment in German criminal law. The American Journal of Comparative Law, 53(3), 679–707. doi:10.1093/ajcl/53.3.679
Husak, D. N. (2016). Ignorance of law: A philosophical inquiry. New York: Oxford University Press.
Juris, E. (1957). Comparative study. The University of Chicago Law Review, 24(3), 421-471.
Ritter von Feuerbach, P. J. A. (2007). The foundations of criminal law and the Nullum crimen principle. Journal of International Criminal Justice, 5(4), 1005–1008. doi:10.1093/jicj/mqm053
Radbruch, G. (1999). Rechtphilosophie. Heideberg: C.F. Müller.
Keedy, E. R. (1908). Ignorance and Mistake in the Criminal Law, Harvard Law Review, 22(2), 75-96.
Buell, S. W., & Griffin, L. K. (2012). On the Mental State of Concsiousness of Wrongdoing, Law and Contemporary Problems, 75, 133-166.
Brink, D. O. (2018). The nature and significance of culpability. Criminal Law and Philosophy, 13(2), 347–373. doi:10.1007/s11572-018-9476-7
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2562). ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาณา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: พลสยามพริ้นติ้ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว