ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล
คำสำคัญ:
การบังคับคดี;, ลูกหนี้ตามคำพิพากษา;, สินทรัพย์ดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 2. เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 3. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล
ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ โดยการค้นคว้าเอกสาร ข้อมูลที่ทำการศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร ตำราต่าง ๆ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล
ผลการศึกษาพบว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ไม่มีสถานะถือเป็นเงินตรา เป็นเพียงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ไม่มีรูปร่าง แต่มีมูลค่าและมีราคาถือเอาได้ เข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินตามความหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สิน หมายความรวมทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ สามารถถูกแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เพื่อการชำระสินค้าและบริการได้ แต่ในประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติรองรับอย่างชัดแจ้งว่า “สินทรัพย์ดิจิทัล” เป็นสินทรัพย์ไม่มีรูปร่าง ซึ่งสามารถบังคับดีได้หรือเป็นทรัพย์สินที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ต้องอาศัยการตีความกฎหมายบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล จึงอาจเกิดปัญหา
ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัญหาไว้ในประการต่าง ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรกำหนดให้มีกฎหมายรองรับเป็น
ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง ที่ควรกำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ภายใต้กฎหมายการบังคับคดี โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รองรับสถานะให้ถือว่า ทรัพย์สินหมายความรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีรูปร่างด้วย ในขณะเดียวกันก็ควรปรับปรุงกฎหมายวิธีการบังคับคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสม
เป็นการเฉพาะในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
References
เอื้อน ขุนแก้ว. (2560). การบังคับคดีแพ่ง Civil Execution .(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงสยาม - พับลิชชิ่ง.
พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ธปท.8/2557
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 มาตรา 138
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการบังคับกันสินทรัพย์ดิจิทัล. กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม.
บัญญัติ สุชีวะ. (2542). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
อัครวิทย์ สุมาวงศ์. (2543). คู่มือการศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา. กรุงเทพฯ : สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
สมยศ เชื้อไทย. (2560). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 23) กรุงเทพฯ :วิญญูชน.
ประจักษ์ พุทธสมบัติ. (2551). คำบรรยายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับคดีกรุงเทพฯ : มีสมบัติ.
ประวีณวัชร์ อิศรางกูล ณ อยุธยา. คู่มือการปฏิบัติการงานบังคับคดี กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว