กฎหมายต้นแบบว่าด้วยแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1.)เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับแบบของสัญญา
ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (2.) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแบบของสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (3.) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (4.) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และสัมภาษเชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องแบบของสัญญาที่แตกต่างกับประเทศอื่นที่เป็นภาคีในอนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อคู่สัญญาต้องเลือกกฎหมายที่ใช้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศย่อมไม่เลือกใช้กฎหมายไทย หรือเลือกใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ คู่ค้าฝ่ายไทยมักมีอำนาจต่อรองต่ำเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น หรือในกรณีที่ต้องเลือกกฎหมายของประเทศอื่น จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่ต้องใช้กฎหมายของต่างประเทศบังคับกับสัญญาโดยปริยาย
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรออกกฎหมายเฉพาะเพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ และกำหนดให้เรื่องแบบของสัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นไปในแนวทางเดียวกับอนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ
References
,3] ชื่นสุมน รัตนจันทร์ และคณะ. (2551). การตั้งข้อสงวนของประเทศภาคีอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างรประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.หน้า3
ชวลิต อัตถศาสตร์. (2558). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศ (กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศ และการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.หน้า16
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109, ตอนที่ 42 ,หน้า1
,7] ชวลิต อรรถศาสตร์. (2553). คำอธิบาย กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. สำนักกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา. กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.21,23
United Nation Convention on Contract for The International Sale of Good. (1980). form: https://www.jus.uio.no/english/services/library/treaties/09/9-01/contracts-sale-goods.html
สุทธิพล ทวีชัยการ. (2545). บทวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Incoterms และกฎหมายซื้อขายระหว่างประเทศ. ในคู่มือการศึกษาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. หน้า 133.
กริช สินธุสิริ. (2564). การแสดงเจตนาและการยอมรับในสัญญาซื้อขาย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8 (1): มกราคม-มิถุนายน. หน้า272-273
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin Law Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว