การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

ผู้แต่ง

  • วรพัทธ์ เจริญทรัพย์ กองกฎหมาย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
  • วิมาน กฤตพลวิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จิตตศุภางค์ ตันติภิรมย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, สิทธิชุมชน, การทำเหมืองแร่

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ของประเทศไทย เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
(3) วิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการดำเนินการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายไทยและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศจากทางอินเทอร์เน็ต

          ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของสิทธิชุมชน การมีส่วนร่วม คณะกรรมการในกฎหมาย การทำเหมืองแร่ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแร่ (2) คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
ไม่ปรากฏองค์ประกอบของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากผู้แทนภาคชุมชน โดยมีจำนวนสัดส่วนของกรรมการภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนและภาคชุมชนเหมือนกับคณะกรรมการแร่ และมีการบัญญัติกฎหมายให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในคณะกรรมการแร่จังหวัด จำนวนด้านละหนึ่งคน ส่งผลให้ขาดแคลนผู้สมัคร เนื่องจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะมาทำหน้าที่เฉพาะเขตจังหวัดที่ตนได้รับมอบหมายมีจำนวนน้อย อีกทั้ง การมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นและการทำประชามติเป็นบุคคลคนละกลุ่มกัน แต่สำหรับคณะกรรมการตามกฎหมายในส่วนการกำหนดนโยบายและ
ส่วนการอนุมัติหรืออนุญาตให้ดำเนินการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ปรากฏสมาชิกที่เป็นกรรมการจากภาคชุมชน และมีจำนวนสัดส่วนของกรรมการภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคชุมชนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่พบปัญหาการขาดแคลนกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในคณะกรรมการดังกล่าว รวมทั้ง บุคคลที่สามารถเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นและการทำประชามติเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน (3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ทั้ง
ในรูปแบบของคณะกรรมการ และการเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นและการทำประชามติของประเทศไทย
ยังไม่สอดคล้องกับหลักแนวความคิดเรื่องสิทธิชุมชนกับการมีส่วนร่วมที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลักการคานอำนาจ และหลักการบริหารจัดการแร่ ซึ่งตรงกันข้ามกับเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่สอดคล้องกับหลักการและแนวคิดดังกล่าว โดยให้ภาคชุมชน
ได้เข้ามามีส่วนร่วมตลอดทั้งกระบวนการ ซึ่งรวมถึงการเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการ และบุคคล
ที่สามารถเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นและการทำประชามติต้องเป็นบุคคลที่ได้รับหรือจะได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง (4) ควรให้เพิ่มองค์ประกอบของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากผู้แทนภาคชุมชนในคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ และเพิ่มจำนวนกรรมการภาคเอกชนและภาคชุมชนให้มีจำนวนสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับกรรมการภาครัฐในคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติและคณะกรรมการแร่ รวมถึง แก้ไขเพิ่มเติมอนุบัญญัติในการกำหนดผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหากรณีการขาดแคลนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดทั้ง แก้ไข
อนุบัญญัติในเรื่องกลุ่มบุคคลที่มีสิทธิเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นและทำประชามติโดยให้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและส่งเสริมหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560. (2 มีนาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 26 ก. หน้า 1-57.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558. (26 มีนาคม 2558).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 21 ก. หน้า 1-12.

พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562. (29 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก. หน้า 1-33.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่

ที่ขอประทานบัตร พ.ศ. 2561. (15 พฤษภาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 109 ง. หน้า 1-9.

กอบกุล รายะนาคร. (2549). พัฒนาการของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน. ในการประชุม

โครงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่ :

สถาบันวิจัยสังคมมหาลัยเชียงใหม่.

ฐิติรัตน์ ยะอนันต์. (2564). สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

กับตัวอย่างการละเมิดสิทธิชุมชนในปัจจุบัน. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 10(1), 12-21.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 28 ธันวาคม 2565, จาก https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-3653/

พวงทอง โยธาใหญ่. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น :

กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของ

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

เอกราช เผ่าจำรูญ. (2550). การทำเหมืองแร่ของประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศแคนาดา

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์.

สิริพันธ์ พลรบ. (2532). คณะกรรมการในทางปกครองตามพระราชบัญญัติในประเทศไทย

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะทำงานศึกษาและยกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำระบบคณะกรรมการมาใช้กฎหมาย สำนักงาน

คณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ระบบคณะกรรมการ

ในกฎหมาย. สืบค้น 26 เมษายน 2566, จาก https://www.krisdika.go.th/data/article77/filenew/03-3-2.pdf

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การแบ่งประเภทการทำเหมือง พ.ศ. 2560. (25 กันยายน 2560).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 235 ง. หน้า 1-2.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายในการทำประชามติ

การขอประทานบัตร พ.ศ. 2561. (23 สิงหาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 204 ง. หน้า 1-18.

NSW GOVERNMENT. (2023). Work Health and Safety (Mines and Petroleum Sites) Act 2013 No 54 Retrieved 6 September 2023, from https://legislation.nsw.gov.au/view/html/inforce/current/act- 2013-054

Government of Canada. (2019). Impact Assessment Act. Retrieved 6 September 2023, from

https://laws.justice.gc.ca/eng/acts/i-2.75/FullText.html

bundesministerium für wirtschaft und klimaschutz. Geschäftsordnung des Bund-Länder-

Ausschusses Bergbau (LAB) . Retrieved 6 September 2023, from https://www.zim.de/

Redaktion/DE/Artikel/Industrie/bund-laender-ausschuss-bergbau-lab.html

NSW GOVERNMENT. (2023). Environmental Planning and Assessment Act 1979.Retrieved

January 2023, from https://legislation.nsw.gov.au/view/html/inforce/current/act-1979-203

Gouvernement du Québec. (2021). Présentation du BAPE. Retrieved 4 January 2023, from

https://www.bape.gouv.qc.ca/fr/bape/presentation-bape/

Federal Ministry of Justice. (2021). Federal Mining Act (BBergG). Retrieved 6 September 2023,

from https://www.gesetze-im-internet.de/englisch_bbergg/

Arbeitsgruppe Umwelt. Sitzung des Expertenausschu. Retrieved 6 September 2023, from

https://www.aprona.net/CR_experts/20121022_experts_eau_FD.pdf.

NSW GOVERNMENT. (2023). Mining Act 1992 No 29. Retrieved 6 September 2023, from

https://legislation.nsw.gov.au/view/html/inforce/current/act-1992-029

Les Publications du Québec. m-13.1 - Mining Act. Retrieved 4 January 2023, from

https://www.legisquebec.gouv.qc.ca/en/document/cs/m-13.1?&target=

Les Publications du Québec. (2023). M-13.1, r. 2 - Règlement sur les substances minérales

autres que le pétrole, le gaz naturel et la saumure. Retrieved 6 September 2023, from

https://www.legisquebec.gouv.qc.ca/fr/document/rc/m-13.1,%20r.%202

bundesministerium der justiz. Gesetz über die Umweltverträglichkeitsprüfung (UVPG).

Retrieved 4 January 2023, from https://www.gesetze-im-internet.de/uvpg/inhalts_bersicht.html

จังหวัดกาฬสินธุ์. (5 เมษายน 2564). ประกาศจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง การรับสมัครและการเสนอชื่อ

บุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแร่จังหวัดกาฬสินธุ์ (ครั้งที่ 3).

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี. (17 มิถุนายน 2564). ประกาศสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง การรับสมัครและการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแร่จังหวัดอุทัยธานี (ครั้งที่ 4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05