ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นันทวันท์ แช่มขุนทด
วัชรินทร์ ศรีรักษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการเขียนภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง (One-Shot Case Study) และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการทำการศึกษาประกอบด้วย


1)  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง จำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง                     2) ชุดสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้การเขียนภาพหุ่นนิ่ง จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่   2.1) Outline  2.2) Drawing  2.3) Colored pencil 2.4) Watercolor 3) แบบประเมินผลงาน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมเป็นรายบุคคล 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน   กลับทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประเมินผลงานนักเรียนโดยให้ผลงานมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70


ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การเขียนภาพหุ่นนิ่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเรื่อง การเขียนภาพหุ่นโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง


1) นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาพหุ่นนิ่งมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.5 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์        ทุกคน ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


2) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง อยู่ในระดับดีมาก (  = 94.29)


คำสำคัญ:  การเขียนภาพหุ่นนิ่ง, การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

วัชรินทร์ ศรีรักษา, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
. (2534). ความคิดสร้างสรรค์: หลักการ: ทฤษฎี: การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
. (2542). ทิศทางของหลักสูตรพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
กรมสามัญศึกษา. (2540). แนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดมัธยมศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทิศนา แขมมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา ในแบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธวัชชานนท์ ตาไธลง. (2552). หลักการศิลปะ. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ, 2(5), 2-30.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
ผศ.มัย ตะติยะ. (2553). สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2542). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ:
เดอะมาสเตอร์.


สังคม ทองมี. (2534). ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการทางด้านศิลปศึกษา และ
ผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อวิชาศิลปศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533).
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพินดา ณ มหาไชย. (2556). Flipped Classroom' ห้องเรียนกลับด้าน. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.komchadluek.net/detail/20130503/157502/Flipped
Classroom%E0%B8%AB%E0
เอกรินทร์ สมีหาศาล. (2545). กระบวนการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา: แนวคิดสู่ปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: บคุพอยท์.
Bergman, J. and Sams, A. (2007). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class
Every Day.: International Society for Technology in Education.
Marlowe, C.A. (2012). The Effect of the Flipped Classroom on Student Achievement and Stress. Montana State University, Bozeman, Montana.
McLaughlin, J.E., et al. (2014). The Flipped Classroom: A Course Redesign to Foster Learning and Engagement in a Health Professions School. US National Library of Medicine National Institutes of Health.