ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Jigsaw วิชาทัศนศิลป์ การออกแบบงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Jigsaw วิชาทัศนศิลป์ การออกแบบงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Jigsaw วิชาทัศนศิลป์ การออกแบบงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยแย้วิทยา ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Jigsaw จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งใช้ในการทดสอบหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย แบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการประเมินผลงานหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทั้ง 4 แผนการจัดการเรียนรู้แล้ว จึงทดสอบความรู้และประเมินความพึงพอใจหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าสถิติพื้นฐาน คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Article Details
References
รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
จารุณี พิมพ์พร. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จิราภรณ์ ศิริทวี. (2541). เทคนิคการจัดกิจกรรมให้นักเรียนสร้างความรู้. วิชาการ, 1(9), 37-52.
ทิศนา แขมมณี. (2543). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การศึกษามโนภาพแห่งตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(1), 16-21.
บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2547). ผลการจัดประสบการณ์แบบวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(25), 107-122.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การสร้างและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.
วีระ วิไลแก้ว. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์
เรื่อง ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวคนธ์ ทองแม้น. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคจิกซอว์ (Jigsow) กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
อนันต์ ศรีโสภา. (2527). ทฤษฏีและการทดสอบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อารุณี บุญยืน. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบจิกซอร์ เรื่อง ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.