การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาคระครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง โดยลงทะเบียนเรียนรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย โดยใช้ LMS Moodle แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบสมติฐานด้วย t-test dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย โดยใช้ LMS Moodle มีระยะเวลา 18 ชั่วโมงประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1.1หลักการและเหตุผล 1.2วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.3กระบวนการฝึกอบรม 1.4กิจกรรมการเรียนรู้ 1.5สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 1.6การวัดและประเมินผลการอบรม โดยกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1 กำหนดเป้าหมาย 2 วางแผนการดำเนินงาน 3 การพัฒนาผลงาน 4 นำเสนอผลงาน และ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนผ่านเครือข่าย โดยใช้ LMS Moodle พบว่า ผู้เข้าอบรมมีผลคะแนนการฝึกปฏิบัติโดยรวมร้อยละ 79.67 มีคะแนนสอบหลังอบรมของผู้เข้าอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมผ่านระบบการฝึกอบรมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ปิยนันท์ ปานนิ่ม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียน การสอนแบบร่วมมือ วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม –เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559) .
ยุภา คำตะพล. (2556). ระบบบริหารจัดการการฝึกอบรมออนไลน์ กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ และสำราญ กำจัดภัย.(2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,ปีที่8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2559).
Best, John W. (1997). Research in Education. .ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice –Hell, lnc.