การจัดการทรัพยากรน้ำ : แนวคิดธนาคารน้ำใต้ดิน จากชุมชนเก่าขามอุบลราชธานีสู่ชุมชนหนองมะโมงชัยนาท

Main Article Content

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สัญญา เคณาภูมิ
วาสนา บรรลือหาญ
อาภากร ประจันตะเสน

บทคัดย่อ

ธนาคารน้ำใต้ดินเป็นแนวคิดการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยการดูดซึมของหินใต้พื้นผิวดินที่มีน้ำหรือการส่งต่อน้ำบาดาล ธนาคารน้ำใต้ดินจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาภัยแล้งที่ดีที่ประสบความสำเร็จแล้วในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้นำแนวคิดธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้วซึ่งมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว บทความนี้มีวัตถุประสงค์แนวคิดการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินที่ประสบความสำเร็จแล้วขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีและองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ผลการศึกษา พบว่าแนวคิดการบริหารจัดการ 9 กระบวนการ ได้แก่ (1) เก็บข้อมูลพื้นที่ด้านทรัพยากรน้ำ ชุมนและสภาพอากาศของประเทศ (2) การกำหนดทิศทางของน้ำใต้ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำระดับชุมชน (3) เจาะสำรวจชั้นดินเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถดำเนินการเติมน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) วางแผนและกำหนดจุดระบบเติมน้ำลงในแผนที่ผังน้ำตำบล (5) ออกแบบระบบธนาคารน้ำใต้ดินตามสภาพหรือบริบทของพื้นที่ (6) ดำเนินการก่อสร้างตามแผนที่กำหนดไว้ (7) ติดตามประเมินผลเก็บข้อมูลเชิงปริมาน คุณภาพและการใช้ประโยชน์จากน้ำ (8) สรุปวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค โอกาส ขยายผลเชื่อมต่อกับโครงการอื่น ๆ ของพื้นที่ และ (8) ขยายผลไปสู่ท้องถิ่นของชุมชนทุกแห่งในประเทศไทย

Article Details

บท
Academic Article
Author Biographies

สัญญา เคณาภูมิ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

วาสนา บรรลือหาญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

อาภากร ประจันตะเสน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ประเทศไทย

References

Agricultural Technology. (2019). "Build an underground water bank, deposit water with soil, solve flood-drought problems In rice fields ". Folk Technology. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_116716
Boon-ek, P. (2019). "Nongmamong Groundwater Bank resolves the drought crisis and community flooding". Kom Chad Luek. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: https://www.komchadluek.net/news/edu-health/387886
Chanklom, A. (2019). Groundwater Bank Survives 'Flood-Drought' Social Innovation Against natural disasters. Matichon Online. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1686371
Pongphit, S. (2019). "Groundwater bank". Siam Rath. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: https://siamrath.co.th/n/99354
Suthison, R. (2017). "Groundwater bank Property of Thailand ". Naewna. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: https://www.naewna.com/columnonline/33249
Thai Post. (2019). "Groundwater Bank, Nong Mamong, flood-drought model, corny" Thai Post. Retrieved 30 January 2020. Accessed from: ttps://www.thaipost.net/main/detail/45688