พระพุทธศาสนากับปัญหาความรุนแรง: กรณีศึกษาจักกวัตติสูตร

Main Article Content

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี (เหมประไพ)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องศาสนากับปัญหาความรุนแรง เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพระพุทธศาสนากับปัญหาความรุนแรง  และเพื่อวิเคราะห์พระพุทธศาสนากับความรุนแรงในจักกวัตติสูตร บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร หนังสือเป็นหลัก จากผลการศึกษาพบว่า แนวคิดเรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มปรวิสัยที่อธิบายธรรมชาติผ่านความเชื่อทางศาสนาที่อธิบายความรุนแรงเป็นสิ่งที่ควบคู่มากับธรรมชาติ และกลุ่มอัตตวิสัยที่ถือว่าความรุนแรงไม่ได้เกี่ยวกับธรรมชาติแต่เป็นด้วยมนุษย์ใช้เหตุผลอธิบายถึงการกระทำของมนุษย์เท่านั้น ขณะที่พระพุทธศาสนาอธิบายความรุนแรงมาจากผลกรรมชั่ว และแนวคิดเรื่องจริยธรรมที่พิจารณาบนฐานของบุคคลที่เป็นผู้กำหนดดีชั่ว เช่นพระราชา ส่วนการวิเคราะห์จักกวัตติสูตรได้พิจารณาความรุนแรงมาจากการปกป้องคุ้มครองธรรมะ โดยหลักธรรมที่ปฏิบัติเพื่อสร้างความสงบมากกว่าความสร้างความรุนแรง ส่วนการมีความรุนแรงนั้นจำเป็นต้องมาจากความเห็นชอบร่วมกัน เช่นการลงโทษผู้กระทำความผิด และความรุนแรงจากการป้องกันไม่ให้อธรรมเกิดขึ้นด้วยการรู้ผลของกรรมชั่ว ส่วนความรุนแรงสามารถใช้ได้จากผู้ที่มีเมตตาสามารถควบคุมไม่ได้เกิดความรุนแรงอื่นๆ ตามมาได้

Article Details

บท
Academic Article

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2558). อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 9.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพลโต. (2559). รีพับลิก. แปลโดย เวธัส โพธารามิก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.
ปรมหังสา โยคานันทะ. (2561). ภควัทคีตา ราชศาสตร์แห่งการหยั่งรู้พระเจ้า ภาค 1. แปลโดย
กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2557). ธรรมรัฐ-ธรรมราชา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปลโต. (2553). โสกราตีส. แปลโดย ส.ศิวรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2527). อรรถกถาพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาภารตะ. (2555). มหาภารตยุทธ. แปลโดย กรุณา-เรืองอะไร กุศลาสัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร:
ศยาม.
มิลินทปัญหา.(2543). มิลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
ลังกากุมาร. (2553). กรณีพระสงฆ์ศรีลังกาเล่นการเมือง. นครปฐม: สำนักพิมพ์สาละ.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2561). ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
ณฐิญาณ์ งามขำ. (2555). “ทำความเข้าใจ “ว่าด้วยความรุนแรง” ของฮันนาห์ อาเรนดท์”. ใน ข้า ค่า ฆ่า: อัต
ลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง. บรรณาธิการโดย สุวรรณา สถาอานันท์ และ เกษม เพ็ญภินันท์.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฮเลน เจมส์. (2562).“รัฐฆราวาสและความรุนแรงในรัฐพุทธ: กรณีของไทยและเมียนมา”. ใน ศาสนากับ
ความรุนแรง. บรรณาธิการโดย ปรีดี หงส์สตัน. กรุงเทพมหานคร: Illuminations Editions.
ฮัลโลเวย์ ริชาร์ด. (2560). ศาสนา: ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์. แปลโดย สุนันทา วรรณสินธุ์.
กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
Gregory E Wilkinson. (2009). The next Aum: religious violence and new religious movements
in twenty-first century Japan. Religious Studies the Graduate College. Iowa: The
University of Iowa.
Masao Abe. (1995). Buddhism and Interfaith Dialogue. edited by Steven Heine. London:
Macmillan Press.