ศึกษาวิเคราะห์การจัดงานสังฆทานเพื่อการพัฒนาของคณะสงฆ์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักทำบุญสังฆทานในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาคุณค่าของการจัดงานสังฆทานโดยคณะสงฆ์อำเภอศรีรัตนะ (3) วิเคราะห์คุณค่าของการจัดงานสังฆทานที่มีต่อคณะสงฆ์และชุมชนในอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การจัดงานสังฆทาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของคณะสงฆ์อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษนั้น เป็นการจัดรูปแบบให้เป็นอันเดียวกัน มีข้อสรุปร่วมกันว่า ต้องการที่จะให้มีการพัฒนาคณะสงฆ์ไปในด้านใด โดยอาศัยการจัดงานสังฆทานเป็นจุดเริ่มต้น และความเสียสละของผู้นำในองค์กรคณะสงฆ์ เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยการนำเอาปัจจัยที่ได้จากการแสดงธรรมในงานทำบุญสังฆทาน มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในส่วนนี้ โดยการพัฒนาคณะสงฆ์อำเภอศรีรัตนะ มีดังนี้ เช่น ส่งเสริมด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษา ด้านศาสนทายาท ด้านศาสนวัตถุ ด้านสาธารณประโยชน์ พร้อมกันนั้นยังสามารถต่อยอดไปการพัฒนาในส่วนของพุทธศาสนิกชนได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากเกิดการส่งเสริมในด้านความสามัคคี ด้านวัฒนธรรม ด้านประเพณี และยังเป็นต้นแบบให้กับคณะสงฆ์อื่น ได้นำไปปรับปรับใช้ได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่งด้วย
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
ประเวศ วะสี. (ม.ป.ป.). พุทธธรรมกับสังคม, (กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์หมอชาวบ้าน, ม.ป.ป..
พระครูธรรมธรสุนทร (กวิสฺสโร/เพ็งอาจ). (2557). “ศึกษาทัศนคติตอการถวายสังฆทานของชาวพุทธกลุ่มวัยรุน กรณีศึกษาวัดจรเขใหญ อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
พระครูไพศาลธรรมานุสิฐ (ถนอม ภิญโญจิตร). (2546). “การศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างการให้ทานใน พระสุตตันตปิฎกกับการปฏิบัติจริงในลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเชน แสวงมิ้ม. (2552). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอานิสงส์ของทานในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
พระมหาสง่า ไชยวงศ์. (2551). “การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง “ทาน” ในพระพุทธศาสนา”, วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2549). “พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพ
วรคุณ (สมาน สุเมโธ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีระพงศ์ เจริญพันธุ์วงศ์. (2541). “การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.