บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชน: กรณีศึกษาวัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดความเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมขนของวัดพระธาตุเรืองรอง 2. เพื่อศึกษาบทบาทในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชนของพระสงฆ์วัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชนของพระสงฆ์วัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสารประกอบข้อมูลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน นำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) วัดพระธาตุเรืองรองมีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน โดยมีองค์ประกอบความเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ เป็นสถานที่เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ และเป็นสถานที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของชุมชน 2) พระสงฆ์มีการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยดำเนินการใน 2 ด้าน คือบทบาทด้านการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และบทบาทด้านการจัดแสดงแหล่งเรียนรู้ และพบว่า มีปัญหาอุปสรรคต่อบทบาทพระสงฆ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพความเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ ด้านการให้บริการความรู้ ด้านเป็นแหล่งกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ และด้านงบประมาณพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) แนวทางการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชนของวัดพระธาตุเรืองรองควรมีการดำเนินการใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านให้บริการความรู้ ด้านเป็นแหล่งทำกิจกรรม ด้านสนับสนุนการมีส่วนร่วม ด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล ด้านเป็นห้องเรียนตามอัธยาศัย และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานเป็นแหล่งเรียนรู้คู่กับชุมชนสืบไป
Article Details
References
ฉันทนา สุรัสวดี. “รูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : การจัดการมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสนุบสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่บางกะเจ้าจังหวัดสมุทรปราการ”. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2560.
นภัทร์ มงคลปทุมรัตน์. “การจัดการแหล่งเรียนรู้พระราชวังจันทน์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
นพปฎล ธาระวานิช. “การศึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาวัดเจดีย์หอยให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต: มหาวิทยาลัยรังสิต, 2555.
นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์. “ศึกษาศาสนสถานที่สาคัญต่อการอนุรักษ์การท่องเที่ยวของวัดในกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
ทวี พรมมา. “แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม : การสร้างมาตรฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคอีสาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.
บุษยมาส แดงขำ. “แนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง(ไทยพวน)ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลีจังหวัดนครนายก”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
ประเวศ วสี. กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศท้องถิ่นเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2522.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากับการจัดการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
พระครูโสภิตปุญญากร (กล้า กตปุญฺโญ) และพระครูโอภาสนนทกิตติ์. “บทบาทของวัดในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2558): 81-86.
พระมหาเทวประภาส มากคล้าย. “การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ องค์กรภาครัฐ และประชาชนในการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์”. วิทยานิพนธ์รัฐปรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2554.
พยุง ใบแย้ม. “การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2558.
พินิจ ลาภธนานันท์. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
วิชัย นนทการ. “การวิเคราะห์คุณค่าและบทบาทของวัดในฐานะแหล่งเรียนรู้ของชุมชนไทย: กรณีศึกษาวัดไทยลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.
สุมาลี สังข์ศรี และคณะ. “การจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต: พิพิธภัณฑ์”. รายงานวิจัย. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
สุภมาศ อ่ำดวง. “แนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. รายงานการเสวนา “บทบาทที่พึงประสงค์ของวัดและพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย”. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2544.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. “รายงานสรุปการสัมมนา นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย”. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ, 2543.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. รายงานการเสวนา “บทบาทที่พึงประสงค์ของวัดและพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย”. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2544.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. รายงานสรุปการสัมมนาเรื่องยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา, 2543.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)”. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2549.
อรรถพล เพียรประเสริฐ. “การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดโพธาราม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation._pdf, [9 สิงหาคม 2562].