การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ประเด่น แบนปิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  3)  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7และ 4) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม 7 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน


           ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากร ประกอบไปด้วย  ผู้บริหาร  ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน จำนวน 136 รูป/คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค  แนวทางแก้ไขปัญหาผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จัดกลุ่มข้อมูล จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

Article Details

บท
Research Articles

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2530.
กิตติ ธีรศานต์. เทคนิคการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ม.ต้น - ม.ปลาย. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, 2539.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
_______.พระพุทธศาสนาและหลักคำสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, 2547.
มหาเถรสมาคม. ประกาศมหาเถรสมาคมว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานฯ,2553.
วรภาส ประสมสุข. “หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต , บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2549.