การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓

Main Article Content

วรรณิศา บุรินทร์กุล
พระครูพิจิตรศุภการ
มะลิวัลย์ โยธารักษ์

บทคัดย่อ


การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3  2) เปรียบเทียบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ3) เสนอแนวทางในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 96 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ผลการวิจัย พบว่า


           1.ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยร่วมการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยภาพรวมการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ จะต้องมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ มีการประเมินการ วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียน กำหนดแผนกลยุทธ์และกำหนดแผนปฏิบัติทั้งสองส่วนส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ


  1. ผลการเปรียบเทียบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 1) มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันมีการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 2) ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดแตกต่างกันมีการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน

          3. แนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า 1) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ จะต้องมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ จะต้องมีการประเมินการ วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง  โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียน กำหนดแผนกลยุทธ์ และกำหนดแผนปฏิบัติทั้งสองส่วนส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผู้บริหารควรมีแนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างชัดเจนทั้งเป็นเอกสารและมีการประชุมชี้แจง มีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนทำระหว่างทำและหลังทำการนำกลยุทธ์ไปใช้เป็นกระบวนการ PDCA และ3) ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามการดำเนินการด้านต่างๆที่สนองต่อกลยุทธ์ต่างๆที่กำหนด อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูพิจิตรศุภการ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

มะลิวัลย์ โยธารักษ์, การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓

Primary Educational Service Area Office 3, SuratThani province

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ

ที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546), เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ :เทพเนรมิต

การพิมพ์.

ทรงศักดิ์ ศรีวงษา.(2550), การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

ประยูร ดอกลำไย. (2552), สภาพและปัญหาการดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี, บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วสันต์ นนะสัน. (2550), ประสิทธิภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์การปกครอง

ส่วนตำบล ตามทรรศนะของพนักงานส่วนตำบล ในเขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัด

เพชรบูรณ์, วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยของแก่น.

สมบูรณ์ จันต๊ะคาด.(2554), การบริหารงานบุคลากรเชิงกลยุทธ์ โรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอแม่

สาย จังหวัดเชียงราย.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.