การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และการพัฒนาตนเอง/การอบรมที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test), One-Way-ANOVA, (F-test) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Different) และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านการติดตามผลการดำเนินการของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และการพัฒนาตนเอง/การอบรมที่ต่างกัน มีการบริหารประกันคุณภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อจำแนกตามเพศและตำแหน่ง พบว่า มีการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน และแนวทางส่งเสริมการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ส่วนใหญ่เสนอแนวทางการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมายการประเมินผล การจัดทำรายงานประจำปี ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสามารถเชื่อมโยงของข้อมูลในการนำใช้ในปีต่อๆไป
Article Details
References
กกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกันคุณภาพการศึกษายุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม
จากhttps://www.moe.go.th/index.php.
นุจนาจ ขุนาพรมและมณเฑียร พัวไพบูลย์. (2561) แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ, การบริหารและการนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน 2561.
นลินรัตน์ ภาโอภาส (2559) ,การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช, รวม
บทความวิจัย โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา : ความท้าทายใหม่ของนวัตกรรมการบริหารจัดการ” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 255.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555), การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11.
นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
บุญชม ศรีสะอ้าน, (2551), วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 4, กาฬสินธุ์ :
ประสานการพิมพ์
พงษ์นภา หุนมาตรา. (2553) ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต
, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ.
ภณัฐพงศ์ พลสุขและจักรกฤษ โพดาพล. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกัน
คุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19,
วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม.
มาณพ แจ้งพลอย. (2553) การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี.
มานพ วงษ์น้อย. (2554) การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วิรัตน์ ผดุงชีพ. (2560) คู่มือกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ. เชียงใหม่: วี วี บุ๊คส์
เอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561) แนวทางการประเมินคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579
กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
.