รูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในศูนย์ เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

ธัญรดี เต็งมีศรี
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
วันฉัตร ทิพย์มาศ
กษมา ศรีสุวรรณ
พระครูประโชติกิจจาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  ในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 10 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศนก์ที่รับผิดชอบสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 7 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จากการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารหลักสูตร การใช้หลักสูตรของสถานศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หลักสูตร ตลอดจนการติดตามประเมินหลักสูตรทั้งก่อนใช้ ระหว่างใช้และหลังการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป 2) รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ดีจะส่งผลต่อบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชั้นเรียนให้มากที่สุด รวมถึงผู้เรียนมีความสุขในขณะที่อยู่ในชั้นเรียน และผู้รับผิดชอบทางการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเน้นการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชั้นเรียนให้ครบทั้ง 4 ทักษะคือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน 3) การนำเสนอรูปแบบการศึกษารูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นรูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารที่มีความเหมาะสมนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มะลิวัลย์ โยธารักษ์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 

กษมา ศรีสุวรรณ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Si Thammarat, Thailand.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Si Thammarat, Thailand.

 

พระครูประโชติกิจจาภรณ์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Si Thammarat, Thailand.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Si Thammarat, Thailand.

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพมหานคร : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, 2542.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการพัฒนาการพัฒนาการ วัดและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ, ฉบับปรับปรุง (2552-2559). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง และนิธิดา อดิภัทรนันท์. การใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูน
ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2555)
จินต์ ใจกระจ่าง.(2553). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
ทองทิพย์ มนตรี, รัชตา ธรรมเจริญ และรุจิราพรรณ คงช่วย. (2556) วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.หลักสูตร
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่