บทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ ๔.๐ ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต ๓
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 3) เพื่อเสนอแนะบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 113 คน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-Way-ANOVA, t-test , F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการบริหารและการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมบทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน คือ ผู้บริหาร ควรพัฒนาด้านกายภาพ ส่งเสริมให้ครูมีการ บูรณาการการสอนทุกกลุ่มสาระ รวมทั้งมีการจัดอบรมครูด้านคุณธรรม จริยธรรมเพื่อนำความรู้มาสอดแทรกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้ผู้บริหารและครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างลักษณะนิสัยแก่นักเรียนโดยให้วัดและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมไปถึงผู้บริหารควรมีระบบการประเมินบุคลากรที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์
Article Details
References
ชัชวาลย์ พรหมเทศน์. ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์กับ คุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1, วิทยานิพนธ์ ค.ม.สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 2551.
ชูชาติ สามารถกุล. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4, วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2552.
บัวหลวง แสงสว่าง. การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการสงเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลพบุรี, วิทยานิพนธ์ ค.ม.ลพบุรี :มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี. 2554. ,89.
พิมลศรี กวีวุฒิพันธุ์, สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท ตามระดับช่วงชั้น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, 2548.
Enciso,Ramond Paz, “Perception of student Discipline : Viewpoints of Student,Teachers, and Administrators,” Master Abstract International. 39(4) : 961 ; August,2001.
Royal,Janell Klingner, “The Identifications of Student Discipline Problem Resulting in School out of School Suspension by comparing Gender Level of High School Student.” Dissertation Abstract International. 64(8) : 2733- A;pebruary,2004.