การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหาร 2) เปรียบเทียบการบริหาร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการและครูจำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานด้วย t-test dependent sample และทดสอบด้วยค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับการมาก ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง อายุราชการและการเข้าอบรม พบว่า มีระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อเสนอแนะคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ ผู้อำนวยการจัดให้มีการประชุมก่อนมีการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นการประชุมชี้แจงให้เข้าใจในการดำเนินงานโครงการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าร่วมทำการศึกษาวิเคราะห์ คิดค้นหาวิธีที่จะเสริมสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นภายในสถานศึกษาทุกคนได้ร่วมกันออกแบบวิธีการในการเสริมสร้างคุณธรรมและร่วมกันในการตัดสินใจที่จะร่วมกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ คือ ผู้อำนวยการมีแผนการดำเนินงานมีคณะกรรมการในการดำเนินเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มีกรรมการในการพิจารณางบประมาณร่วมกันวางแผนในงานและโครงการ กำหนดการดำเนินงานและประสานงานร่วมกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานประสบความสำเร็จใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหารงานในโรงเรียนได้ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์คือ ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทุกระดับเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่เป็นอย่างดี ส่วนครูผู้สอนมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมการได้รับค่าตอบแทนหรือรางวัล การได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรม และไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ การเป็นวิทยากรในการเสริมสร้างคุณธรรมจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้นการมีส่วนร่วมในการประเมินผล คือ ในการประเมินผลมีการออกแบบสอบถาม มีการควบคุม ตรวจสอบการดำเนินงาน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการประเมินผลเป็นตัวแทนในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเมื่อพบปัญหา อุปสรรคขัดข้องในการดำเนินงานผู้บริหารได้ทำการแก้ไข และนำไปปรับปรุงการดำเนินงานอยู่เสมอ และบุคคลมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในโรงเรียนได้การติดตามและประเมินผลไม่เพียงแต่ประเมินผลเท่านั้นแต่จะต้องนำมาพัฒนาและนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพด้วยเช่นนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาเพื่อเพิ่มความสนใจและนำไปใช้
Article Details
References
ไกรประสิทธิ์ พันสะอาด. (2555) การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารโรงเรียนใน อำเภอขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดลใจ ถาวรวงศ์และ จันทร์ชลี มาพุทธ. (2553). “กระบวนการขัดเกลาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนต้นแบบจังหวัดฉะเชิงเทรา”. การศึกษาและพัฒนาสังคม.
ชลณพรรธษ์ ศรีเริงหล้า. (2555) ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
ทองสุข มันตาทร และคณะ. (2550). การศึกษาแนวทางในการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนใน
สถานศึกษา เอกชน เขตตรวจราชการที่ 13 ประจำปีงบประมาณ.
ไพศาล มั่นอก และ ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.เด็กไทยยุคไทยแลนด์ 4.0 ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม.(2562). เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2562 จาก https://www.posttoday.com.
สรวิชญ์ สินสวาท. (2558). การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการบริหารสถานศึกษาของครูในโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุ
ศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สิทธิศักดิ์ แก้วทา และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2562). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของ นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร. เรียกใช้เมื่อ 21 มิ.ย. 2562 จาก http://www.tci- thaijo.org.
สุระ อ่อนแพง และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ประถมศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2562 จาก https://www.tci-thaijo.org.
ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2553). พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราช
พฤกษ์. รายงานวิจัย (วิทยาลัยราชพฤกษ์).