การบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักการศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อเพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการของในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จากผลการวิจัยสามารถสรุปผล อภิปรายผล และมีข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการในโรงเรียนสามัญศึกษาวัดแจ้ง สังกัดสำนักการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านวิชาการ ๒. ด้านงบประมาณ ๓. ด้านการบริหารงานบุคคล และ ๔. การบริหารทั่วไป นำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาใน ๓ ขั้นตอนคือ ๑) ขั้นศีล คือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกา ๒) ขั้นสมาธิ การมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน ๓) ขั้นปัญญา การนำเอาผลของการปฏิบัติ เพื่อนำมาวิเคราะห์ วิจัย เป็นแนวทางบริหาร จัดการเป็นเลิศ สร้างเป็นองค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางการศึกษา
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๖๐–พ.ศ.๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ๒๕๖๐, หน้า ๑๔.
นฤมล หลักคำ. การบริหารการควบคุมภายในด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ๒๕๕๔, หน้า ๑๐๙.
ผ่องศิริ เรียงตระกูล. “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนการกุศล ของวัดใน พระพุทธศาสนาลำปาง”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต. บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๔๔, หน้า ๑๙.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔). สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสานักนายกรัฐมนตรี ๒๕๕๙, หน้า ๒๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด. ๒๕๓๗, หน้า ๑๓.
สราวดี เพ็งศรีโคตร. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๕๕๔, หน้า ๑๔.
สุรพงษ์ ชูเดช. ผลของการอบรมตามแนวไตรสิกขาโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบการสอนตามหลัก ไตรสิกขา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ๒๕๓๔, หน้า ๒๘.
อุดม ชำณิ. สำนักงานกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. โรงเรียนพินิจประสาธน์อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ปราจีนบุรี: เจตนารมณ์ภัณฑ์. ๒๕๕๓, หน้า ๕.