การบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

mantana punudom
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่
สำเริง จันชุม
วันฉัตร ทิพย์มาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน 2) ศึกษาการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน 3) เสนอแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน มีการดำเนินการจัดกิจกรรม 4 กิจกรรมคือ (1) กิจกรรมเข้าแถวตามลำดับ (2) กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี เพื่อบ่มเพาะระเบียบวินัย (3) กิจกรรมที่ส่งเสริมการตรงต่อเวลา         (4) กิจกรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามระเบียบวินัย กติกา ข้อตกลงร่วมกันของห้องเรียน , โรงเรียน เช่น ทิ้งขยะในถัง , การแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ 2) การบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน สถานศึกษาจะต้องทำการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” เตรียมจัดการสอน วางแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ เตรียมจัดการสอน วางแผนการจัดการเรียนการสอนและดำเนินการในกิจกรรมลูกเสือ มีการอบรมดูแล ติดตาม นักเรียนในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม โดยครูจะเป็นผู้ควบคุม ดูแล             และติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลอย่างจริงจัง และสามารถนำผลที่ได้ไปปรับปรุงเพื่อพัฒนาต่อไป            3) เสนอแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมกำกับติดตาม ประเมินผลการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 4 กำหนดปฏิทินการประเมินผลการบริหารกิจกรรมพัฒนาระเบียบวินัยนักเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 4 การประเมินตามสภาพจริง การสังเกตพฤติกรรมเป็นการเก็บข้อมูลจากการดูการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรม เป็นการเก็บข้อมูลจากการดูการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนและการสนทนา เป็นการสื่อสาร 2 ทางอีกประเภทหนึ่ง ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่, วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

Thaksin vocational technological college

สำเริง จันชุม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

วันฉัตร ทิพย์มาศ, วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา Thaksin vocational technological college

วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

Thaksin vocational technological college

References

กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี พ.ศ.2560 – พ.ศ.2579, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2560), หน้า ฉ.
กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2560), หน้า 3.
กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้, คู่มือการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2561), หน้า 5.
ณัชณิชา โพธิ์ใจ. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบตามแนวคิดคุณลักษณะศึกษาของลิคโคนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา file:///C:/Users/Acer/Downloads/89535-Article%20Text-639241-1-10-20190730.pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
นงลักษณ์ ยอดมงคล, ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), 2561), หน้า 6
ยุรธร จีนา และคณะ. รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ โรงเรียนบ้านแม่สา ตำบลแม่ริม อำเภอแม่สา จังหวัดเชียงใหม่. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา และการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่, 2560.
วิภาวี เธียรลีลา. เพราะครูห้ามและไม่เอาใจใส่ วินัยจึงไม่เกิดในห้องเรียน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thepotential.org/2019/04/30/positive-discipline-in-the-classroom/.[23 กุมภาพันธ์ 2563].
วิภาส ทองสุทธิ์. รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา file:///C:/Users/Acer/Downloads/9242-27292-1-SM%20(3).pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
วีณา ประชากูล. การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://library.cmu.ac.th/moralcorner/sites/de fault/files/pictures/re_feb12_3.pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
ศุจิรัตน์ ภูผานี และคณะ, การปฏิบัติตนตามค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการของนักเรียน โรงเรียนในอำเภอโคกศรีสุพรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1, หน้า 169.
อุไร จักษ์ตรีมงคล. การพัฒนามาตรประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ สำหรับผู้เรียนอายุระหว่าง 12-14 ปี. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), 2558.
Mussen,Paul H. and others. Child Development and Personality. 3rd ed. New York : Harper & Row. 1969.