การบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนใน ศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี 2) เพื่อศึกษาการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สร้างคุณลักษณะผู้เรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียน สถานศึกษา จัดทำเป็นคำสั่ง มอบหมายงานและหลักสูตร มีการกำหนดแผนกิจกรรม มีสภาพการบริหารหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี แต่งตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ที่แตกต่างกัน มีแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือ โดยยึดหลักสูตรและกำหนดแผนกิจกรรม แบ่งการจัดกิจกรรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จะทำได้โดยการวัดและประเมินผลกิจกรรมตามหลักสูตรหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม โดยการสังเกตและทดสอบปฏิบัติ 2) การบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี โดยนำผลจากการศึกษามาพัฒนาและใช้ประโยชน์ และใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมให้มีทิศทางไปในทางเดียวกันกระบวนการดำเนินการบริหารจัดการ ทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ สถานศึกษามีการประชุม แต่งตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตร ให้ฝ่ายบริหารวิชาการโรงเรียนวิเคราะห์หลักสูตรร่วมกับผู้สอน จัดทำเป็นคำสั่ง มอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับบุคลากร มีการกำหนดให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการสอนตามหลักสูตร ตามประเภทของลูกเสือสำรอง และสามัญ บุคลากรเข้ารับการอบรมและศึกษาหลักสูตรอย่างละเอียด และนำความรู้มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การนำไปใช้ มีการวัดและประเมินผลตามตัวชี้วัด 3) แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จากการศึกษาพบว่าดำเนินการบริหารจัดการ การประเมินตามสภาพจริง, การประเมินการปฏิบัติ, กำหนดเกณฑ์การประเมิน, การสังเกตพฤติกรรม การสนทนา เป็นต้น
Article Details
References
. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ, 2551.
. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 2553.
กำจร พรหมะวัน. ครูลูกเสือหนังสือที่ระลึกครบรอบ 80 ปีอภัยจันทวิมล. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2531.
บุญส่ง อันอาสา. สภาพปัญหาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาฬสินธ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา file:///C:/Users/Acer/Downloadsj7_3_021com
pressed.pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
พรอนันต เสือคลื้น. การบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุมดอยอางขาง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://journal.feu.ac.th/pdf/v10i2t3a22.pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
วาสนา เจริญเปลี่ยน. การศึกษาการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในเขตจังหวัดราชบุรี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา file:///C:/Users/Acer/Downloads/7223-Article%20Text-14336-1-10-20130319%20(1).pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://gnru2018.lpru.ac.th/pdf/proceeding/
Education_Group/Page_855-1034.pdf. [23 กุมภาพันธ์ 2563].
สมมาตร สังขพันธ์. “การลูกเสือกับการศึกษา”.วารสารลูกเสือฉบับพิเศษวันลูกเสือ 56. (กรกฎาคม-สิงหาคม 2535): 31.