The การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ

Main Article Content

อภิญญา โนบันเทา
รัชกร ประสีระเตสัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านห้วยหัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้การอ่านจับใจความ 3) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที  (t-test Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า


1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค SQ4R  ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.38/80.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รัชกร ประสีระเตสัง, หาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ประเทศไทย Rajabhat Chaiyaphum University, Thailand.

หาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ประเทศไทย

Rajabhat Chaiyaphum University, Thailand.

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬารัตน์ อินทร์อุดม.(2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. วารสาร Humanities, Social Sciences and arts Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(4), 195-121.

นงเยาว์ ทองกำเนิด.(2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาวรัฏฐนน แสงศรี, ยุพิน จันทร์เรืองและอัญชลี เท็งตระกูล.(2559). พัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 129-140.

พิบูลย์ ตัญญบุตร.(2557). การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 312-327.

สุคนธรัตน์ สวัสดิกูล. (2554). การสร้างชุดการสอนอ่านจับใจความสำคัญด้วยวิธี SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อมรรัตน์ จินตกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.

Walter Pauk. (1984). The New SQ4R. Journal Reading World, 23(3)