รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เศกสรรค์ เศกสรรค์ กังสะวิบูลย์
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
วันฉัตร ทิพย์มาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)  เพื่อศึกษาสภาพปจจุบันของการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพ 3)  เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาเอกสารโดยใช้ข้อมูลสภาพการบริหารการจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาจำนวน 6 โรงเรียน มาเป็นแนวทาง และนำร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ จากนั้นปรับร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา เป็นประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 3 คน  จากนั้นนำมาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบเบื้องต้น เพื่อให้คำชี้แนะในการพัฒนารูปแบบก่อนที่จะนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 7 คน


    ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการมีกระบวนการและวิธีการในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลสองภาษามีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป  แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย  หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2544  ส่วนการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และการจัดกิจกรรม เน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ผลการวิจัยพบว่า ในการบริหารจัดการประกอบด้วย 4 องค์ ประกอบ คือ (1) ชื่อรูปแบบ  (2) หลักการและเหตุผล (3) วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการ (4) กระบวนการดำเนินการ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการบริหารและผลผลิต 3) ผลการนำเสนอ รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุคประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนทนากลุ่ม มีผลคือ ที่ประชุมกลุ่มเห็นด้วยกับการนำเสนอให้มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือคือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ โดยในกระบวนการพัฒนาผู้เรียนควรมีการแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นเตรียมความพร้อม  ขั้นดำเนินการ  และขั้นตรวจสอบ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

มะลิวัลย์ โยธารักษ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus, Thailand

วันฉัตร ทิพย์มาศ, วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา Thaksin vocational technological college

วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

Thaksin vocational technological college

References

กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2559.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. 2559..
_____________ . 17 ผลงานเด่นกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. 2561.
Solis,A. Boosting our understanding of Billingual education : A refresher on philosophy and
Model . Intercultural Development Research Assosiation.(online).
Available:http:www.idra.org/Newsltt [2019, May 15]
นิวัตร นาคะเวช. “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝัน”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปทุมธานี,2554.
เรขา ศรีวิชัย, รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี,
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการ
จัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2559.